HomeOn RadarsCPALLคาดโอนเทสโก้ฯ จบครึ่งปีหลัง ไร้กังวลสภาพคล่องแม้หุ้นกู้ครบกำหนดหมื่นลบ.

CPALLคาดโอนเทสโก้ฯ จบครึ่งปีหลัง ไร้กังวลสภาพคล่องแม้หุ้นกู้ครบกำหนดหมื่นลบ.

ความคืบหน้าหลังซื้อเทสโก้ไทย-มาเลเซีย

“เกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ” รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส รองสายงานบัญชีและการเงิน บริษัท ซีพี ออลล์ (CPALL) ได้เปิดเผยความคืบหน้าขั้นตอนหลังประกาศเข้าลงทุนในบริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เทสโก้ สโตร์ส (มาเลเซีย) ไปตั้งแต่เดือน มี.ค. ที่ผ่านมาว่า หลังได้มีการเซ็นสัญญาซื้อขายไปบ้างส่วน ตอนนี้อยู่ระหว่างที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเทสโก้ขออนุญาตทางการทั้งของไทยและมาเลเซียกับคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า เพื่อขอให้อนุาตและพิจารณาตัดสินในการดำเนินกิจการ

ทั้งนี้ คาดว่าทางการต้องใช้เวลาในการพิจารณาอนุมัติ โดยคาดการณ์ว่าจะได้รับการอนุมัติและสามารถปิดรายการโอนทรัพย์สินและชำระหนี้ระหว่างกันได้ภายในครึ่งหลังของปี 2563 นี้  

สภาพคล่องยังดีแม้มีหุ้นกู้ครบกำหนดกว่า 1 หมื่นล้าน

ปัจจุบัน CPALL มีการออกหุ้นซึ่งรวมถึงหุ้นกู้ด้อยสิทธิคล้ายทุน (Perpetual Subordinated Bond) ด้วยทั้งหมด 1.5 แสนล้านบาท แต่จะมีครบกำหนดระยเวลาไถ่ถอนประมาณกว่า 1 หมื่นล้านบาทช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเป็นระยะเวลาพอดีที่คาดว่าสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย พร้อมคาดว่ามาตรการของทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะได้ผล แต่มั่นใจว่าไม่มีผลกระทบต่อสภาพคล่องของ CPALL เพราะเป็นบริษัทที่มีกระแสเงินสดที่สูงอยู่แล้ว

“ต้องยอมรับว่าตอนนี้เรื่องหุ้นกู้ได้รับผลกระทบเชิงจิตวิทยาเปราะบางจากที่มีแรงขายกองทุนรวมตราสารหนี้ ซึ่งทาง CPALL ก็ประเมินว่า ความสนใจต่อการออกหุ้นกู้ล็อตใหม่อาจจะไม่ได้รับผลตอบรับไม่เยอะเท่าเมื่อก่อน เพราะทุกคนมองว่าตอนนี้กำเงินสดไว้ดีกว่า อย่าเพิ่งไปลงทุน ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้นกู้ที่ต้องไปประเมินความเสี่ยงหรือผลตอบแทนดีๆ หรือทางผู้ออกเองจะไปบริหารอย่างไรที่จะมีการเพิ่มน้ำหนักการให้เรตติ้งในส่วนไหนบ้าง แต่ส่วนตัวมองว่าไม่อยากให้ตื่นตระหนกมาก เพราะถ้าทุกคนต่างกลัวและตื่นตูมก็อาจนำไปสู่วิกฤตได้”

คำแนะนำ

ผู้ออกหุ้นกู้ (Issuer)

  • สำรวจและตรวจสภาพคล่องเราเป็นอย่างไร แบ็คอัพแพลนคืออะไร ปัจจัยเสี่ยงตอนนี้คืออะไร ความจำเป็นตอนนี้คือ เพราะตอนนี้ตลาดเงินตอนนี้จะให้น้ำหนักและการขอให้มีเสถียรภาพไว้ก่อน ซึ่งอาจจะต้องแลกด้วยกับต้นทุนที่่เพิ่ม แต่ไม่ใช่ว่าต้องรอให้หุ้นกู้ใกล้ครบกำหนดอายุเวลาไถ่ถอนแล้วค่อยออก ถ้าสามารถออกหุ้นกู้ใหม่ได้ก่อนก็ควรออก แม้จะทำให้ต้นทุนในการออกหุ้นกู้แพงกว่าเดิมก็ตาม แต่ยังดีไว่ามีเงินมีสภาพคล่อง
  • ควรมีเงินกุู้จากสถาบันการเงินที่ต้องหาเผื่อหรือเตรียมตัวไว้ให้พร้อม การบริหารจัดการอิบิทดาที่ที่มาจากการดำเนินงานอย่างไร ที่ต้องมั่นใจในการบริหารจัดการว่ามันจะเพียงพอและหล่อเลี้ยงธุรกิจได้
  • บริษัทต้องดูเงินลงทุน (Capex) ว่าช่วงนี้มีอะไรที่ชะลอการลงทุนไว้ก่อนได้เพื่อที่จะเอากระแสเงินสดกลับมาก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีสภาพคล่องที่ในมือเพียงพอ

ผู้ถือหุ้นกู้

ผลกระทบเชิงจิตวิทยายังมีอยู่ แต่การควรประเมินความเสี่ยงให้ดี เพราะถ้ามองว่าการลงทุนทุกอกย่างเหลือศูนย์และเกิดการตื่นตระหนกไปหมดนั่นแหละที่จะนำมาให้เกิดวิกฤต 

ผลประกอบ

ไตรมาสแรกปี 2563 ทุกคนต่างได้รับผลกระทบหนักอยู่แล้ว ตัวเลขไม่น่าจะดีอยู่แล้ว ยอดขายของการเติบโตของสาขาเดิมก็ติดลบ แต่สิ่งที่ต้องติดตามดูคือตั้งแต่เดือน เม.ย. ที่ผ่านมา CPALL มี 2 ปัจจัยที่เพิ่มเข้ามาคือ การประกาศเคอร์ฟิว การงดขายแอลกอฮอลล์ และการที่ปีนี้ไม่ได้หยุดสงกรานต์ซึ่งเทียบกับปีก่อนไม่ได้ 

ตัวเลขต่างๆ 

  • 2562 รายได้ 5.7 แสนล้านบาท กำไร 2.2 หมื่นล้านบาท 
  • สาขา 11,000 สาขา แบ่งเป็นต่างจังหวัด 56 % และที่เหลือกรุงเทพ-ปริมณฑล 
  • สถิติยอดขาย 80,000 บาทต่อวันต่อสาขา ยอดซื้อเฉลี่ยของลูกค้า 70 บาท มีลูกค้า  1,187 รายต่อสาขาต่อวัน 
  • ปัจจุบันสัดส่วนสินค้าอุปโภค 30% และสินค้าบริโภค 70 % (สินค้าบริโภค 30 % เครื่องดื่ม 30% อาหาร 40 % ซึ่งอาหารอย่างละครึ่งเป็นพร้อมทานกับอาหารแห้ง เช่น  บะหมี่กึ่งสำเร็จสรูปหรือขนมห่อ)
  • ปัจจุบันมีพนักงานประจำที่ร้านทั้งหมดกว่า 1 แสนคน มีทั้งหมด 3 กะ ต่อกะใช้ทั้งหมด 3-4 คน 

อ่านวิธีการบริหารความเสี่ยงของ CPALL ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 https://stockradars.news/2020/04/24/vision-cpall-covidcrisis