โดนเขย่าขวัญกันไปเมื่อวันหยุดที่ผ่านมาหลังสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ระงับสิทธิภาษีศุลกากร (GSP) กับไทย มูลค่าการค้า 40,000 ล้านบาท หรือ 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
แต่นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งต่างเทมุมมองว่า เรื่องนี้ส่งผลกระทบกับ บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทยในกรอบที่จำกัดมาก เพราะหลายสินค้าที่ บจ.ส่งไปสหรัฐไม่ได้เป็นสินค้าที่ได้รับสิทธิ์ GSP อยู่แล้ว
เมยแบงก์ฯ กิมเอ็งให้น้ำหนัก Tradewar มากกว่า GSP
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) มองว่า เหตุที่ทุกคนมีความกังวลเพราะไทยส่งออกกสินค้าไปสหรัฐจีน เป็นอันดับ 2 รองจากจีน แต่หากดูไส้ข้างในมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลกปีที่แล้วอยู่ที่ 252,957 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปีหนึ่งส่งออกไปสหรัฐเพียง 31,872 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ไทยมีการใช้สิทธิ GSP ของสหรัฐเพียง 4,381 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 13.74 % ของยอดที่ส่งออกไปสหรัฐเท่านั้น
หากมาย้อนดูประเภทตัวสินค้าที่ส่งออกไปทั้งไปสหรัฐทั้งหมด 1,485 รายการ แต่หากมีการตัดสิทธิ GSP จริงเพียง 573 รายการ หรือคิดเป็นการใช้สิทธิเพียง 1,279 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์มองผลกระทบต่อผู้ส่งออกเพราะจะทำให้ราคาสินค้าที่ส่งออกไปมีราคาที่สูงขึ้น แค่เพียง 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเพียงส่งอกไปทั้งหมดทั่วโลก 0.01% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดเท่านั้น
นอกจากนั้น กลุ่มเสี่ยงสินค้าประเภทเสี่ยงสูง คือต้องใช้สิทธิ 50 % และส่วนแบ่งสินค้าที่ต่ำ ไม่ได้เป็นสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทจดทะเบียนมาก เช่น ชิ้นส่วนผลิตรถจักรยานยนต์ (แต่บจ.ไทยมีผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มากกว่า) แว่นตา อ่างล่างน้ำ เครื่องสูบของเหลว ดังนั้นโดยรวมสิ่งที่กังวล จะไม่กระทบกับ บจ. หรือแม้ในกลุ่มส่งออกอาหาร กุ้งหรือทูน่า ส่วนใหญ่ไม่ได้ GSP อยู่แล้ว CPF มีการส่งออกกุ้งไปสหรัฐต่ำว่า 1 % ส่วน TU แม้มีการส่งออกทูน่าไปสหรัฐ 17% แต่ทูน่ามีหลายประเภท และผู้บริหารTU ออกมาชี้แจงอย่างเป็นทางการแล้วว่า TU ไม่ได้ใช้สิทธิ์ GSP อยู่แล้ว ขณะที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งไปสหรัฐประมาณ 10% ต้องดูเป็นรายตัว
“ต้องถือว่าเรื่องนี้กระทบไทยยังไม่มาก แต่สิ่งสำคัญคือต้องดูอะไรหลังจากนี้ และเชื่อว่าก่อนจะถึงเดือน เม.ย.ที่กำหนดการตัดสิทธิ์ ทางการไทยต้องมีการยื่นเรื่องหรือพยายามเคลียร์เรื่องนี้ก่อน อีกทั้งไทยจะมีการ่วมประชุมอาเซียนกันในสัปดาห์หน้าและการประชุมเอเปกกลางเดือน พ.ย. หน้าเช่นกัน”
อย่างไรดี เมย์แบงก์ฯ ยังให้น้ำหนักเรื่องสงครามการค้า (Tradewar) เป็นหลักมากกว่า และที่สำคัญแนวโน้มเป็นมุมมองบวก เนื่องจากผู้แทนการค้าสหรัฐมองว่าอาจจะมีการเจรจาเฟส 1 โดยจีนอาจซื้อสินค้าเกษตรมากขึ้น ขณะที่รายการที่สหรัฐขู่ขึ้นภาษีน่าจะมีการยกเว้นหรือยกเลิก และโดยความคืบหน้าในการเซ็นสัญญาน่าจะเริ่มกลางเดือน พ.ย.ที่มีการประชุมเอเปก
ขณะที่กรณี Brexit ตอนนี้ต้องดูสว่าสหภาพยุโรปอาจจะมีการเลื่อน Brexit ออกไปเมื่อไร หลังจะครบกำหนดวันที่ 31 ต.ค. นี้ โดยภาพรวมตลาดไม่ชอบออกแบบไม่มีเงื่อนไข (No Deal) เพราะจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เริ่มจากอังกฤษแล้วอาจจะส่งผลไปยังประเทศอื่นได้
หยวนต้าชี้เกี่ยวกับหุ้นไทยน้อยมาก
บล.หยวนต้า มองว่า ไม่กระทบกับหุ้นไทยเพราะบริษัทจดทะเบียนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง แม้กระทั้ง TU ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะถูกกระทบมากที่สุด ได้ออกมาชี้แจงว่ายังไม่ได้ใช้สิทธิ GSP จึงไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีการถูกตัดสิทธิ ความเสี่ยงที่รออยู่ข้างหน้า คาดว่าจะยิ่งกดดันรัฐบาลและกลุ่มผู้ส่งออก
แต่สิ่งที่ท้าทายของรัฐบาลและผู้ประกอบการไทย แนวทางสำคัญในการลดพึ่งพิงตลาดสหรัฐ คือการกระจายตลาดไปยังประเทศอื่น เช่น จีน อาเซียน เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และยุโรป แต่ด้วยศักยภาพในการแข่งขันที่ถดถอยเพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของรัฐบาลชุดใหม่ โดย World Economic Forum ได้ปรับอันดับไทยลงมาอยู่ที่ 40 จาก 141 ประเทศ ลดลงจากปีก่อน 2 อันดับ
นอกจากนั้น การแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับภูมิภาคเอเชียอยู่ราว 6% ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่การเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP หรือการพิจารณา FTA จาก EU ยังไม่มีความคืบหน้า จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปรับโครงสร้างตลาดเพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงตลาดสหรัฐได้ทันที
โบรกฯ ชี้สิ่งที่ต้องติดตามสัปดาห์นี้
- 29-30 ต.ค. การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ย 0.25%) ถ้าไม่ลดดอกเบี้ยมีผลต่อตลาดหุ้น
- 31 ต.ค. เส้นตาย Brexit สิ่งที่ตลาดต้องการคือควรมีการเลื่อนออกไปแบบที่มีข้อตกลงแน่ชัด
- 31 ต.ค. ภาคการผลิตจีนตลาดคาด 49.8 ภาคบริการ 53.8 สิ่งที่คาดไว้คือต้องให้เห็ตัวเลข 50 เพราะจะเข้าฤดูการค้าขายแล้ว