เรียกได้ว่าทำให้ตลาดรับรู้ความเคลื่อนไหวกันอีกครั้ง เมื่อมีการเผยรายงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ระบุว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไม่ช้านี้ และยังคงติดตามภาวะเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด
โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหลายคนยังคงกังวลเรื่องนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเกินไปก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินในประเทศอย่างมากเช่นกัน ดังเห็นได้จากในช่วงการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิด-19 ที่มีความไม่แน่นอนสูง ตลอดจนความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมหลายคนมุ่งไปสู่การลดขนาดงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้คณะกรรมการกำหนดนโยบายก็ยังไม่ชี้ชัดต่อว่าจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่อาจปรับขึ้นในช่วงมีนาคมนี้
แต่สิ่งหนึ่งที่ชี้ชัดในการเปิดเผยรายงานชิ้นนี้ นั่นคือ เงินเฟ้ออาจเกินเป้าหมายระยะยาวที่ยอมรับได้ ซึ่งทำให้จะต้องใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นในการจัดการเรื่องนี้ แต่ก็ได้คาดการณ์ว่าเกิดขึ้นเนื่องด้วยความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
โดยความไมสมดุลดังกล่าว อาจเกิดขึ้นจากอุปสงค์ที่มีการฟื้นตัวจากการเปิดเมืองมากขึ้น ในขณะที่ฝั่งการผลิตหรืออุปทานอาจประสบกับภาวะชะงักงันกะทันหันก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้ฟื้นตัวได้อาจช้ากว่าการฟื้นตัวของการบริโภคก็เป็นได้ จึงเป็นไปได้ว่าทาง FED อาจมองสิ่งนี้เป็นเพียงผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น
ทั้งนี้ FED เองก็ดูเหมือนว่ามีความกังวลต่อผลกระทบในระยะกลางด้วยเช่นกัน เนื่องด้วยเงินเฟ้ออาจส่งผลต่อความสามารถในการจ่ายได้ของครัวเรือน อาจทำให้เกิดภาระต่อครัวเรือนสหรัฐ เมื่อเงินเฟ้ออาจทำให้กำลังซื้อของผู้คนลดลงได้
ซึ่งเมื่อรายงานชิ้นนี้ออกมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีการตอบสนองด้วยการเคลื่อนไหวในแดนลบ เนื่องด้วยท่าทีของ FED ก็อาจส่งผลทำให้เกิดนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นได้ ในขณะที่ฝั่งทองคำมีการปรับตัวเข้าใกล้จุดสูงสุดในรอบ 8 เดือนเลยทีเดียว อันสะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนคาดการณ์ถึงภาวะเงินเฟ้อที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ในมุมมองระยะยาว FED รับรู้ถึงการหลุดกรอบเงินเฟ้อที่ยอมรับได้ แต่เงินเฟ้ออาจยังส่งผลต่อระยะสั้นและระยะกลางเท่านั้น เมื่อการฟื้นตัวค่อนข้างมีเสถียรภาพ ก็อาจทำให้เงินเฟ้อน่าจะลดลงได้