สัปดาห์ที่แล้ว (7 – 11 กุมภาพันธ์ 2565) หุ้นไทยปรับตัวเพิ่มเป็นอย่างมากจากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ โดยในตลอดทั้งสัปดาห์สามารถยืนในแดนบวกได้ช่วงปิดของแต่ละวันอีกด้วย ทั้งนี้ในแต่ละวันในสัปดาห์ หุ้นไทยปิดตลาดและมีมูลค่าซื้อขายสุทธิดังต่อไปนี้
⁃ วันจันทร์ ปิดตลาดที่ 1,677.24 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 76,267.45 ล้านบาท
⁃ วันอังคาร ปิดตลาดที่ 1,684.23 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 84,621.58 ล้านบาท
⁃ วันพุธ ปิดตลาดที่ 1,703.16 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 135,624.66 ล้านบาท
⁃ วันพฤหัสบดี ปิดตลาดที่ 1,703.00 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 112,355.48 ล้านบาท
⁃ วันศุกร์ ปิดตลาดที่ 1,699.20 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 95,433.74 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากแบ่งแยกตามประเภทนักลงทุน พบว่านักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการซื้อขายสุทธิในแดนบวกมากที่สุด ส่วนนักลงทุนทั่วไปภายในประเทศมีมูลค่าการซื้อขายในแดนลบมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ เป็นไปดังต่อไปนี้
⁃ นักลงทุนต่างประเทศ +42,054.10 ล้านบาท
⁃ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ +1,789.33 ล้านบาท
⁃ สถาบันในประเทศ -21,443.50 ล้านบาท
⁃ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ -22,399.93 ล้านบาท
ในส่วนของหุ้นที่มีปริมาณซื้อขายโดดเด่นในแดนบวกตอนปิดตลาดวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ได้แก่ IVL, EA, GPSC, IRPC ตามมาด้วยกลุ่มสื่อสารอย่าง ADVANC, INTUCH, TRUE, JTSและกลุ่มธนาคารอย่าง KBANK, SCB, TTB เป็นต้น
ทั้งนี้ หลายหมวดธุรกิจก็สามารถยืนในแดนบวกได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธนาคารที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น (+0.69%) ในขณะที่กลุ่มสื่อสารยังคงอยู่ในช่วงขาขี้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน (+2.31%)
ส่วนกลุ่มที่มีแนวโน้มการแกว่งตัวขึ้นลง ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ผู้บริโภค (+1.25%) กลุ่มแฟชั่นที่อาจเป็นช่วงขาขึ้น (+0.46%) กลุ่มอุตสาหกรรม (+1.00%) กลุ่มกระดาษ (+0.60%) กลุ่มปิโตรเคมี (+0.45%) กลุ่มทรัพยากรกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง (+0.41%) กลุ่มบันเทิง (+0.04%)
นอกจากนี้ บางกลุ่มยังคงอยู่ในช่วงย่อตัวลง เช่น กลุ่มประกันภัยมีการย่อตัวลงเล็กน้อย (+0.71%) กลุ่มเหล็ก (+0.14%) กลุ่มอสังหาฯและก่อสร้างย่อตัวลงเล็กน้อย (+1.96%) และกลุ่ม REIT ที่ย่อตัวแต่ค่อยๆ เห็นสัญญาณการฟื้นตัวอย่างช้าๆ (+0.50%)
ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ ปิดตลาดวันศุกร์ในแดนลบ อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร (-0.29%) กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (-0.86%) กลุ่มอุปกรณ์ส่วนบุคคล (-1.92%) กลุ่มการเงิน (-1.77%) กลุ่มยานยนต์ (-0.34%) กลุ่มชิ้นส่วนอุตสาหกรรม (-0.45%) กลุ่มบรรจุภัณฑ์ (-0.26%) กลุ่มก่อสร้าง (-0.87%) เป็นต้น
โดยในส่วนของสัปดาห์นี้ ต้องติดตามหลายๆ ปัจจัย อาทิ การเคลื่อนย้ายของเงินทุนจากกรณีดัชนี CPI ในสหรัฐฯ พุ่งแตะกว่า 7% ซึ่งชี้วัดเศรษฐกิจกำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่มากขนาดนี้ในรอบหลายปี อาจทำให้เงินทุนไหลมายังฝั่งเอเชียมากขึ้นหรือไม่ ในขณะที่น้ำมันเริ่มกลับมาพุ่งสูงอีกครั้งจากการที่ปริมาณน้ำมันในตลาดมีน้อยเกินไป แรงเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อตึงตัวจึงอาจเป็นปัจจัยหลักที่สั่นคลอนตลาดลงทุนต่างๆ อยู่ไม่น้อย