คำว่าการลงทุน มักจะคู่กับความเสี่ยงและผลตอบแทนเสมอ.. เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง…และการลงทุนแต่ละแบบ ก็มีผลตอบแทนที่แตกต่างกัน
เช่น ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ผลตอบแทนรายเดือนคือค่าเช่า ส่วนผลตอบแทนระยาวคือราคาอสังหาริมทรัพย์
ครับ!! หุ้นก็เช่นกัน มีทั้งผลตอบแทนระยะสั้นจากราคาหุ้น และผลตอบแทนระยะยาว จากการลงทุนร่วมเป็นเจ้าของกิจการ นั่นก็คือ เงินปันผล
ซึ่งผลตอบแทนที่ได้นั้น มีทั้งส่วนที่จำเป็นต้องเสียภาษี และส่วนที่ได้รับยกเว้นภาษี
ผลตอบแทนแบบแรก จำเป็นต้องจ่ายภาษี คือ เงินปันผล (Dividend)
สำหรับเงินปันผล จะแบ่งเป็น 2 กรณี ตามลักษณะบริษัทที่คุณได้เป็นผู้ถือหุ้น
- กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (ซึ่งไม่ใช่บริษัทที่ได้รับ BOI)
จะถูกหัก “ภาษี ณ ที่จ่าย” ในอัตรา 10% ซึ่งคุณสามารถเลือกดําเนินการได้ 2 วิธี นั่นคือ ยินยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% แล้วนําเงินปันผลที่ได้รับในปีนั้น มาคํานวณเพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปี หรือว่าจะนําเงินปันผลที่ได้รับทั้งหมดในปีนั้น มาคํานวณภาษีรวมกับเงินได้ ประเภทอื่นๆ (ตรงนี้ก็จะได้รับสิทธิในการเครดิตภาษีเงินปันผลด้วย)
- กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริม จากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
จะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และสำหรับการส่งภาษีสิ้นปีก็จะไม่ต้องนําเงินปันผลที่ได้รับในปีนั้นมาคํานวณ และนั่นก็จะทำให้ไม่ได้รับสิทธิในเครดิตภาษีเงินปันผลด้วย
ผลตอบแทนแบบที่สอง ไม่จำเป็นต้องจ่ายภาษี
เงินกําไรจากการขายหรือโอนหุ้นสามัญ / หุ้นบุริมสิทธิ (Capital Gain)
จะได้รับยกเว้นภาษี เฉพาะเงินได้จากการขายหรือโอนหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
แต่กรณีที่เป็นการขายหรือโอนหลักทรัพย์ ที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาที่อยู่ในไทยถึง 180 วันในปีภาษี จะต้องเสียภาษี โดยถูกหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีก้าวหน้า และต้องนําเงินได้ไปรวมคํานวณตอนสิ้นปีด้วย
ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องภาษีสำหรับการลงทุนได้ที่นี่ครับ >> https://www.set.or.th/education/th/begin/stock_content09.pdf