สัปดาห์นี้ (29 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2564) หุ้นไทยปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวในกรอบ 1,585 – 1,590 จุด และในบางวันได้ทะลุแนวต้านไปถึง 1,591.84 จุดและทะลุแนวรับลงไปที่ 1,568.69 จุดเช่นกัน ในขณะที่สัปดาห์ก่อนหุ้นไทยกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบ 1,610 – 1,650 จุด ทั้งนี้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยรวมหุ้นไทยถือว่ามีแนวโน้มย่อตัวอย่างมาก
โดยแต่ละวันในสัปดาห์ หุ้นไทยปิดตลาดและมีมูลค่าซื้อขายสุทธิดังต่อไปนี้
⁃ วันจันทร์ ปิดตลาดที่ 1,589.69 จุด มูลค่าการซื้อขาย 115,806.02 ล้านบาท
⁃ วันอังคาร ปิดตลาดที่ 1,568.69 จุด มูลค่าการซื้อขาย 159,490.87 ล้านบาท
⁃ วันพุธ ปิดตลาดที่ 1,590.81 จุด มูลค่าการซื้อขาย 93,864.33 ล้านบาท
⁃ วันพฤหัสบดี ปิดตลาดที่ 1,591.84 จุด มูลค่าการซื้อขายสุทธิ 67,069.51 ล้านบาท
⁃ วันศุกร์ ปิดตลาดที 1,588.19 จุด มูลค่าการซื้อขายสุทธิ 55,196.93 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากแบ่งแยกตามประเภทนักลงทุน พบว่านักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการซื้อขายสุทธิในแดนลบมากที่สุด ส่วนนักลงทุนทั่วไปในประเทศมีมูลค่าการซื้อขายในแดนบวกมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ เป็นไปดังต่อไปนี้
⁃ นักลงทุนต่างประเทศ -11,428.84 ล้านบาท
⁃ บัญชีหลักทรัพย์ในประเทศ -8,150.35 ล้านบาท
⁃ สถาบันในประเทศ -3,123.57 ล้านบาท
⁃ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ +22,702.77 ล้านบาท
โดยหากดูข้อมูลซื้อขายสะสมสุทธิของนักลงทุนแต่ละประเภทตั้งแต่ต้นปี 2564 พบว่า นักลงทุนทั่วไปภายในประเทศมีมูลค่าซื้อขายสะสมในแดนบวกสูงถึง 129,928.79 ล้านบาท ในขณะที่บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ก็มีมูลค่าซื้อขายในแดนบวกอยู่ในไม่น้อยถึง 11,402.90 ล้านบาทเลยทีเดียว
ในทางกลับกัน สถาบันในประเทศมีมูลค่าซื้อขายสะสมในแดนลบอยู่ที่ 66,007.81 ล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติมีมูลค่าซื้อขายสะสมในแดนลบที่ 75,323.88 ล้านบาท
ในส่วนของหุ้นยืนคงยืนในแดนบวกได้ตอนปิดตลาดวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี อาทิ EA, GPSC, TOP, PTTGC, BANPU ตามมาด้วยกลุ่มบริการเฉพาะกิจ อาทิ HL, BWG และกลุ่มบริการเกี่ยวกับด้านการเงินอย่าง FSS และ BROOK
ทั้งนี้ หลายหมวดธุรกิจก็สามารถยืนในแดนบวกได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มการเงิน (+2.46%) และกลุ่มบริการเฉพาะกิจ (+1.74%) ทะลุแนวต้านเดิม มีแนวโน้มปรับตัวในช่วงขาขึ้น รวมไปถึงกลุ่มสื่อสาร (+0.13%) ที่ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนกลุ่มที่มีแนวโน้มการแกว่งตัวขึ้นลง ได้แก่ กลุ่มทรัพยากร (+1.59%) กลุ่มประกันภัย (+1.01%) ที่มีแกว่งตัวขึ้นลง แต่มีแนวโน้มทะลุแนวต้านเดิม กลุ่มยานยนต์ (+0.71%) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร (+0.53%) กลุ่มบริการก่อสร้าง (+0.39%) กลุ่มอุตสาหกรรม (+0.31%) กลุ่มกองทุนอสังหาฯ (+0.31%) กลุ่มเหล็ก (0.15%)
นอกจากนี้ บางกลุ่มยังคงย่อตัวลง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาหาร (+0.37%) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง (+0.34%) ที่ย่อตัวลงอย่างหนัก กลุ่มเกษตร (+0.25%) กลุ่มปิโตรเคมี (+0.40%) ยังคงอยู่ในแนวการปรับตัวลง อย่างไรก็ตาม บางกลุ่มก็เริ่มมีแนวโน้มสดใสมากขึ้น อาทิ กลุ่มแฟชั่น (+0.36%) ย่อตัวไม่มากนักและกำลังปรับขึ้นอีกครั้ง กลุ่มอุปกรณ์บ้านและสำนักงาน (+0.36%) ปรับตัวขึ้นอีกครั้งและกลุ่มขนส่ง (+0.15%) แนวโน้มย่อตัวลงอย่างหนักแต่ค่อยๆ ปรับขึ้น
ในส่วนของสัปดาห์หน้า มีหลากหลายประเด็นที่ยังคงต้องติดตาม ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโอไมครอนจะกระทบต่อห่วงโซ่เศรษฐกิจของแต่ละประเทศมากน้อยแค่ไหน ท่าทีของ OPEC+ ต่อสัญญาการเพิ่มกำลังผลิตน้ำมันหรือไม่ ท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ออกมายอมรับว่าพบสัญญาณเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ ตลอดจนการขยับเคลื่อนไหวของสินทรัพย์เสี่ยงไปสู่สินทรัพย์ที่ปลอดภัยมากขึ้น
[เพิ่มเติม] ⭐เปิดบัญชีเทรดผ่าน StockRadars กับหลักทรัพย์ กรุงศรี วันนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่มีขั้นต่ำ ง่าย อนุมัติเร็ว และ ยังได้ใช้ StockRadars “ฟรีทุกฟีเจอร์ !!” สมัครเลยที่ 👉🏻 https://bit.ly/33AyotD
#StockRadars #ทำเรื่องหุ้นเป็นเรื่องง่าย #StockRadarsNews
หรือติดตามเรา ในช่องทางอื่นๆ
Website: https://www.stockradars.news
Application: https://www.stockradars.co/getradars
LINE: @StockRadars https://line.me/R/ti/p/%40stockradars
Telegram: https://t.me/StockRadars
Blockdit: https://www.blockdit.com/stockradars