บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เจอความท้าทายทั้งโรงแรมและ Retail ช่วงท้ายไตรมาสแรก 2563 นักท่องเที่ยวเข้าไทยลดลง 80% กระทบรายได้หนัก แจงยังมีพอร์ตลงทุนในอาคารสำนักงาน ที่ยังไม่ได้รับผลกระทบทางตรงจากสถานการณ์โควิด-19
โดยในไตรมาส 1/2563 บริษัทสร้างผลกำไรสุทธิได้ 108.2 ล้านบาท รายได้รวม 2,512.9 ล้านบาท ลดลง 30.6% ไตรมาสแรกของปีก่อน ได้มีการบริหารค่าใช้จ่าย การบริหารส่วนกลาง และค่าใช้จ่ายดำเนินงานจากกลุ่มธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ค่าใช้จ่ายดำเนินงานจากกลุ่มธุรกิจเหลือเพียง 1,364.0 ล้านบาท ลดลง 22.1%
บริษัททยอยปิดดำเนินงานของโรงแรมเกือบทั้งหมดชั่วคราว และได้ทำการโอนลูกค้าในกรุงเทพฯ มาพักที่โรงแรมดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก, อะลักซ์ซูลี่ คอลเลคชั่น กรุงเทพฯ เพื่อควบคุมรายจ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน อีกทั้งช่วยลดการเดินทางของพนักงานและลดการรวมตัวของคนหมู่มาก ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
โดยหากจำแนกรายได้ตามกิจการโรงแรมและบริการที่เกี่ยวข้อง จะพบว่ากลุ่มโรงแรมในเมืองในกรุงเทพ ได้รับผลกระทบทางรายได้มากที่สุด ลดลง 43% เมื่อเทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
โรงแรมกลุ่มประชุมสัมมนา (MICE)
รายได้ไตรมาส 1/2563 อยู่ที่ 808.1 ล้านบาท (-34.7%)
โรงแรมในเมืองในกรุงเทพ
รายได้ไตรมาส 1/2563 อยู่ที่ 205.3 ล้านบาท (-43%)
รีสอร์ท ระดับลักซ์ซูรี
รายได้ไตรมาส 1/2563 อยู่ที่ 153.7 ล้านบาท (-32.5%)
โรงแรมอื่นๆ นอกกรุงเทพ
รายได้ไตรมาส 1/2563 อยู่ที่ 367.5 ล้านบาท (-36.5%)
ได้มีการปิดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า (ศูนย์การค้า) ตามนโยบายของรัฐบาล
บริษัทได้ทำการลด หรือยกเว้นค่าเช่าให้กับผู้เช่า ตามนโยบายที่ต้องการให้คู่ค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง ยังสามารถผ่านวิกฤติการณ์ Covid-19 เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน
โดยรายได้ของกลุ่มธุรกิจนี้ 1,014.3 ล้านบาท ลดลงจาก 1,138.5 ล้านบาทในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หรือลดลง 10.9%
ทั้งนี้แม้ในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า (Retail) จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่สั่งปิดแหล่งช็อปปิ้งตั้งแต่ช่วงมีนาคม อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทมีการกระจายพอร์ตการลงทุนในอาคารสำนักงาน (Commercial) ซึ่งรายได้มั่นคงสม่ำเสมอ และยังไม่ได้รับผลกระทบทางตรงจากสถานการณ์ครั้งนี้
มุ่งเน้นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
บริษัทได้ใช้มาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่าย (Cost Efficiency nitiatives) เพื่อให้การบริหารงานและการใช้จ่ายมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2563 เท่ากับ 1,364.0 ล้านบาท ลดลง จาก 1,572.1 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปีก่อนหน้า หรือลดลง 22.1%
ทั้งนี้บริษัทยังคงดำเนินตามแผนที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง โดยมาตรการลดค่าใช้จ่ายประกอบด้วย ควบคุมสาธารณุประโภคส่วนกลาง การลดค่าใช้จ่ายด้านการตลาด การใช้ระบบ Ecosystem ในกลุ่มเพื่อให้มีอำนาจต่อรองราคากับคู่ค้า เป็นต้น
โดยมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต แต่จะทำให้บริษัทบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนในระยะยาว
You must be logged in to post a comment.