HomeUncategorizedปรัชญาการเงินเมื่อ 120 ปีก่อน

ปรัชญาการเงินเมื่อ 120 ปีก่อน

ย้อนศึกษาส่วนหนึ่ง จากหนังสือ The Philosophy of Money เมื่อ 120 ปีก่อน (ปี 1900) โดยจอร์จ ซิมเมล นักสังคมวิทยาและนักปรัชญาชาวเยอรมัน ที่ได้มองเงินในฐานะตัวแทน ที่ช่วยให้ผู้คนเข้าใจถึงความสำคัญของชีวิต

เงินและการตีคุณค่า

เขาเชื่อว่าผู้คนสร้างคุณค่าโดยการสร้างวัตถุ เขาพบว่าวัตถุที่อยู่ใกล้เกินไปจะไม่ถือว่ามีค่า และวัตถุที่อยู่ไกลเกินกว่าที่ผู้คนจะครอบครอง ก็ไม่ถือว่ามีค่าเช่นกัน

สิ่งที่ถูกยอมรับว่ามีค่า คือการใช้เวลา เสียสละ และความยากลำบากในการรับสิ่งนั้น

ในยุคพรีโมเดิร์น เริ่มต้นด้วยการแลกเปลี่ยนสินค้าหลากหลายรูปแบบ ซึ่งสำหรับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ที่มีระบบคุณค่าและได้การยอมรับในยุคแรกๆ เช่น ที่ดิน, อาหาร นั่นทำให้เกิดสกุลเงินขึ้น และสิ่งของต่างๆ ก็ถูกตีมูลค่าในเชิงปริมาณขึ้น

เงินและเสรีภาพ

พื้นฐานของปรัชญาการเงิน คือ เงินนำมาซึ่งเสรีภาพ โดยผลของเสรีภาพนั้นพิจารณาจากวิวัฒนาการที่มีการผูกพันทางเศรษฐกิจ นั่นคือผู้ที่เป็นทาส จะถูกควบคุมโดยเจ้านาย หรือแม้แต่ชาวนาที่มีอิสระมากกว่า แต่ถ้าพวกเขายังต้องจ่ายเงินให้บางคนอยู่ เช่น การให้ข้าวสาลีหรือเนื้อสัตว์ นั่นแสดงว่าพวกเขาก็ยังต้องผลิตสิ่งของที่บางคนต้องการอยู่

แต่เมื่อภาระผูกพันเป็นเงินแทน ชาวนามีอิสระที่จะปลูกข้าวหรือเลี้ยงสัตว์ แต่อย่างไร พวกเขาก็ยังจ่ายภาษีอยู่ดี

ในยุคนี้จะเห็นได้ชัดว่าเงินทำให้ผู้คนมีเสรีภาพมากขึ้น นั่นคือผู้ที่ได้รับเงินเดือนอยู่เป็นประจำ จะรู้สึกเป็นอิสระจากการใช้เงินที่ได้มาจากค่าตอบแทน รวมทั้งของบางอย่างจะถูกลดความสำคัญลง ทำให้คนที่มีฐานะร่ำรวย สามารถมีชีวิตที่เรียบง่ายได้

แต่ก็ไม่ใช่ว่า ผู้ที่มีเงินมากกว่า จะใช้ชีวิตได้อิสระกว่าบางคน เพราะส่วนใหญ่แล้ว พวกเขามักจะถูกดึงดูดเข้าสู่สังคมที่มีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น

ซึ่งซิมเมลยืนยันว่า สุดท้ายแล้ว เงินก็เป็นเพียงตัวแทนที่ช่วยให้ผู้คนเข้าใจถึงความสำคัญของชีวิตเท่านั้นเอง

ดังนั้น การดำเนินชีวิตอย่างอิสระของแต่ละคน จึงอยู่ที่ทัศนคติและมุมมองมากกว่า