บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 จะยังคงได้รับแรงกดดันจากนโยบาย Zero Covid ที่ทำให้มณฑลต่างๆ ภายในประเทศจีนยังคงต้องล็อกดาวน์ แม้โรงงานของบริษัทจะตั้งอยู่ในมณฑลเจียซิงซึ่งไม่ถูกล็อกดาวน์ แต่มันก็ส่งผลต่อระบบการขนส่งและ Supply chain ของบริษัท
ในเบื้องต้น บริษัทคาดการณ์ว่า กำลังการผลิตอุปกรณ์สำหรับสมาร์ทโฟนจากประเทศจีนในไตรมาสที่ 2 จะลดลงประมาณ 25% และจะสามารถฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติในไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป นอกเหนือจากนั้น สถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนมีผลกระทบอยู่ไม่น้อย ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นส่งผลต่อความต้องการใช้สมาร์ทโฟนใน 2 ประเทศดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงมีธุรกิจการประกอบแผงวงจรพิมพ์ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ชิปบนบอร์ด, แผงวงจรรวม, ไฟ LED, และผลิตภัณฑ์ใยแก้วนำแสง ซึ่งยังคงมีความต้องการจากลูกค้าที่แข็งแกร่งและช่วยประคองยอดขายให้บริษัทได้เป็นอย่างดี
นายริชาร์ด เดวิด ฮัน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท กล่าวว่า “การหดตัวลงของตลาดสมาร์ทโฟนทั่วทั้งโลกนั้นเป็นเพียงสภาวะระยะสั้น บริษัทของเราจะยังคงได้รับประโยชน์จากการที่ผู้บริโภคต้องเปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟนที่สามารถรองรับเทคโนโลยี 5G ได้ในระยะยาว”
ธุรกิจ PMS ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
ในส่วนของธุรกิจ Power Master Semiconductor (PMS) ในเกาหลีใต้ บริษัทถือว่ามีความคืบหน้าที่เร็วกว่าแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ ในปัจจุบัน บริษัทได้ติดตั้งเครื่องจักรสำหรับการผลิตชิ้นส่วนประเภท SiC (Silicon Carbide) เรียบร้อยแล้ว และได้เริ่มเดินเครื่องทดสอบไลน์การผลิต ตลอดจนได้ทดสอบอุปกรณ์และสามารถผลิต SiC MOSFET ได้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ส่งผลให้การดำเนินงานในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นอย่างมาก โดยบริษัทคาดหวังว่าธุรกิจ PMS จะเข้ามาเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจหลักของบริษัทที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันและธุรกิจนี้จะสอดคล้องกับช่วงเปลี่ยนผ่านในธุรกิจยานยนต์จากเครื่องยนต์สันดาปสู่รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งบริษัทคาดว่าจะ PMS จะช่วยสร้างกำไรให้กับบริษัทได้อย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ บริษัทยังคงตั้งงบประมาณการลงทุนสำหรับธุรกิจดังกล่าวในปี 2565 ไว้อีกประมาณ 3,500 – 3,800 ล้านบาท ซึ่งบริษัทคาดว่าจะสามารถผลิตและส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป และจะสามารถเริ่มผลิตชิ้นส่วนในปริมาณมากได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 เป็นต้นไป
เตรียมรุกตลาดจีน
ในเบื้องต้น บริษัทประเมินว่า ภายในเครื่องยนต์ของรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน ต้องใช้ชิ้นส่วน “SiC Diodes” และ “SiC MOSFETS” อย่างละ 84 ชิ้น ซึ่งธุรกิจ PMS ของบริษัทนั้นสามารถตอบโจทย์และถือว่าเป็นจุดที่ได้เปรียบทางการค้าเป็นอย่างมาก เนื่องจาก HANA จะเป็นบริษัทที่สามารถผลิต SiC Foundry ได้แห่งแรกในเกาหลีใต้ ไม่เพียงเท่านั้น บริษัทจึงอยู่ระหว่างหาแหล่งผลิตและวางแผนที่จะทำการตลาดเพื่อรุกเข้าสู่จีน ประเทศที่มีผู้ผลิตและผู้ใช้งานรถไฟฟ้าจำนวนมาก ซึ่งคิดเป็น 50% ของโลก
นายริชาร์ด เดวิด ฮัน กล่าวเสริมว่า “ปัญหาการขาดแคลนชิปและภาวะเงินเฟ้อนั้นเป็นเพียงปัจจัยกดดันในระยะสั้น เนื่องจากความต้องการของยานยนต์ไฟฟ้าในระยะยาวนั้นยังคงแข็งแกร่ง บริษัทคาดว่าธุรกิจ PMS จะช่วยผลักดัน Gross Margin ของบริษัทให้สูงขึ้น เนื่องจาก Gross Margin ของธุรกิจ SiC อยู่ที่ราว 20-30% เทียบกับ Gross Margin ระดับปกติของบริษัทที่ราว 10-15%”
HANA ติดสัญญาณ Radars อะไรบ้าง ไปดูกันครับ
1️⃣Consistent Dividend = HANA เป็นหุ้นที่มีการปันผลเป็นระยะเวลา 5 ปีติดต่อกัน
2️⃣Dividend Above Inflation = HANA เป็นหุ้นที่มีอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ
3️⃣All Sector = HANA เป็นหุ้นที่มีค่า P/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย P/E ของหุ้นใน Sector นั้นๆ
[SPECIAL] ⭐เปิดบัญชีเทรดผ่าน StockRadars กับหลักทรัพย์ กรุงศรี วันนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่มีขั้นต่ำ ง่าย อนุมัติเร็ว และ ยังได้ใช้ StockRadars “ฟรีทุกฟีเจอร์ !!” สมัครเลยที่ 👉🏻 https://bit.ly/33AyotD
#StockRadars #ทำเรื่องหุ้นเป็นเรื่องง่าย #StockRadarsNews
หรือติดตามเรา ในช่องทางอื่นๆ
Website: https://www.stockradars.news
Application: https://www.stockradars.co/getradars
LINE: @StockRadars https://line.me/R/ti/p/%40stockradars
Telegram: https://t.me/StockRadars
Blockdit: https://www.blockdit.com/stockradars