KTC เปิดงบการเงินไตรมาสแรกของปี 2565 พบว่ามีรายได้โตกว่า 5,357 ล้านบาท กำไรสุทธิโตกว่า 7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าในไตรมาสเดียวกัน จากการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมและรายได้ในส่วน Recovery Income
โดยธุรกิจของ KTC ประกอบด้วยรายได้จากสามธุรกิจหลัก ได้แก่ รายได้จากบัตรเครดิต 59.8% รายได้จากสินเชื่อส่วนบุคคล 39.3% และรายได้จากการประกอบธุรกิจเช่าซื้อน้อยที่สุดที่ 0.9%
ซึ่งในส่วนของธุรกิจบัตรเครดิต KTC ยังคงมีผลประกอบการที่ค่อนข้างไปแนวโน้มเดียวกันตลาด โดยอยู่ที่ประมาณ 0.9% เทียบกับอุตสาหกรรมนี้เติบโตอยู่ที่ 3% ในขณะที่หนี้เสียหรือ NPLs ของอุตสาหกรรมทั้งหมดอยู่ที่ 2.2% แต่ในกลุ่มลูกค้าของ KTC อยู่เพียง 1.2% เท่านั้น
ในส่วนของธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล KTC มีแนวโน้มจำนวนบัญชีการใช้งานลดลง แต่การดำเนินธุรกิจของ KTC ยังคงมีหนี้เสีย NPLs ใกล้เคียงกับอุตสาหกรรมนี้โดยรวม และน้อยกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใช้บริการผ่านการให้บริการโดยตรงหรือบริการขายทางไกลและรองลงมาเป็นการเข้าใช้บริการผ่านธนาคารกรุงไทย (KTB)
ทั้งนี้ธุรกิจในเครือบัตรเครดิตได้รับอานิสงส์เชิงบวกจากการเปิดเมือง อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวมากขึ้น ประกอบกับการเร่งพฤติกรรมการใช้งานช้อปปิ้งออนไลน์และบริการส่งอาหาร ซึ่ง KTC ได้ขยายการบริการไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมที่กำลังฟื้นตัวต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นท่องเที่ยว ค้าปลีก สุขภาพและความงาม อาหารหรือสถานีบริการต่างๆ อีกเช่นกัน เพื่อรองรับการเติบโตไปพร้อมกับหุ้นส่วนทางธุรกิจอีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้ สินเชื่อส่วนบุคคลยังคงเน้นการเข้าถึงบริการลูกค้าในแบบใหม่มากขึ้น โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มรายได้ปานกลางค่อนสูง ร่วมมือกับหุ้นส่วนธุรกิจเพื่อตอบรับความต้องการของลูกค้าได้ ตลอดจนการส่งเสริมกระตุ้นให้ลูกค้าใช้งานมากขึ้น อาทิ โปรแกรมจัดการหนี้และการจัดการด้านสินทรัพย์ การเข้าถึงสินเชื่อได้แบบทันด่วน เป็นต้น
ดังนั้น หากวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของ KTC ยังคงมีแนวโน้มที่ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการเติบโตของบัตรเครดิตอาจสอดรับการเติบโตพร้อมกับการเปิดเมือง แต่ก็ต้องติดตามการขยายเครือข่ายธุรกิจชอง KTC จะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดได้มากแค่ไหนในอนาคต