HomeOn RadarsAOT รับบริหาร 3 ท่าอากาศยาน กระบี่-อุดรธานี-บุรีรัมย์

AOT รับบริหาร 3 ท่าอากาศยาน กระบี่-อุดรธานี-บุรีรัมย์

✈️ AOT รับบริหาร 3 ท่าอากาศยาน กระบี่-อุดรธานี-บุรีรัมย์ ดันเป็นประตูเมือง พร้อมลดความแออัดบนห้วงอากาศ มั่นใจเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) หรือหุ้น AOT กล่าวว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธาน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 นั้น เป็นการประชุมเพื่อติดตามผลการมอบท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน (ทย.) 3 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานกระบี่ อุดรธานี และบุรีรัมย์ ให้ ทอท. เป็นผู้ดำเนินการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มุ่งเน้นให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาค (Aviation Hub) the โดยการที่จะเป็น Hub ได้นั้น จำเป็นต้องพิจารณาทั้งในด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ รูปแบบการก่อสร้างและเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ รวมทั้งแผนการตลาดของผู้บริหารท่าอากาศยานควบคู่กันไปโดยองค์รวม

ปัจจุบัน ทอท. มีท่าอากาศยานที่เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคอยู่แล้ว ได้แก่

• ศูนย์กลางการบินในภาคเหนือ คือ ท่าอากาศยานเชียงใหม่
• ศูนย์กลางการบินในภาคใต้ คือ ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.)
• ศูนย์กลางการบินในภาคกลาง คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.)

ซึ่งท่าอากาศยานดังกล่าว นอกจากจะมีความแออัดบนภาคพื้นแล้ว ยังมีความแออัดบนห้วงอากาศด้วย

ซึ่งนั่น ยากต่อการบริหารจัดการ และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการบริหารห้วงอากาศทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ยังว่าง

ทอท. จึงเห็นความเหมาะสม ในการพัฒนาท่าอากาศยานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

👉🏻 โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน คือ ท่าอากาศยานอุดรธานี ให้เป็นประตูเมือง (Gateway) ไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
👉🏻 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง คือ ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ให้เป็น Gateway เชื่อมต่อไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา

จึงทำให้ทั้ง 2 ท่าอากาศยาน เหมาะสมที่จะพัฒนา เพื่อยกระดับเป็นศูนย์กลางการบิน

ในขณะที่ ท่าอากาศยานกระบี่ ก็จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งการเป็นศูนย์กลางการบินในภาคใต้ ภายใต้สถานการณ์ที่ ทภก. จะกลับมารองรับผู้โดยสารเกินศักยภาพอีกครั้ง หลังหมดวิกฤตโควิด-19 ในเวลาอันสั้น

ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าการเข้าบริหารท่าอากาศยานของ ทอท. นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ในการแก้ข้อจำกัดในการพัฒนาอุตสาหกรรมทางการบิน โดยเฉพาะข้อจำกัดด้านการจราจรบนน่านฟ้า และลดการใช้งบประมาณ ในขณะที่ผู้โดยสารได้รับความสะดวกโดยมีไฟล์ทบินตรงไปสู่ท่าอากาศยานปลายทาง และผู้โดยสารที่จะบินไปต่างประเทศไม่เสียค่า PSC ซ้ำซ้อน เนื่องจากเป็นการบินตรง ไม่ต้องบินมาต่อเครื่องฯ ที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะทำให้เสียค่า PSC อีกครั้งหนึ่ง

และ ทย. จะไม่เสียประโยชน์เพราะ ทอท. จะพิจารณาสนับสนุนเงินที่ ทย. ขาดหายไปจากการขาดรายได้ เพื่อให้ ทย. มีเงินทุนเพียงพอเพื่อการพัฒนาท่าอากาศยานอื่นต่อไป

🚨 On Radars : AOT ติดสัญญาณเรดาร์ “Latest Quarter Revenue Increasing” หุ้นที่ผลประกอบการไตรมาสล่าสุดมีรายได้เพิ่มขึ้น .. และสัญญาณอื่นๆ ดูเพิ่มเติมได้ที่แอพ. StockRadars https://www.stockradars.co/getradars

[SPECIAL] ⭐️ เปิดบัญชีเทรดผ่าน StockRadars กับหลักทรัพย์ กรุงศรี วันนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่มีขั้นต่ำ ง่าย อนุมัติเร็ว และ ยังได้ใช้ StockRadars “ฟรีทุกฟีเจอร์ !!” สมัครเลยที่ 👉🏻 https://bit.ly/33AyotD