HomeUncategorizedสรุปภาวะตลาดรายสัปดาห์ “หุ้นไทยปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่องแต่ย่อตัวบ้าง กลุ่ม non-bank โดดเด่น”

สรุปภาวะตลาดรายสัปดาห์ “หุ้นไทยปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่องแต่ย่อตัวบ้าง กลุ่ม non-bank โดดเด่น”

สัปดาห์ที่ผ่านมา (10 มกราคม – 14 มกราคม 2565) หุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่มีการย่อตัวลงในช่วงปิดสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนในกรอบที่สูงกว่าแนวต้านใหม่ที่ 1,670 จุดยังเป็นสัญญาณที่ดี แต่ก็ต้อติดตามในสัปดาห์หน้าต่อไป โดยแต่ละวันในสัปดาห์ หุ้นไทยปิดตลาดและมีมูลค่าซื้อขายสุทธิดังต่อไปนี้

 ⁃ วันจันทร์ ปิดตลาดที่ 1,657.06 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 79,545 ล้านบาท

⁃ วันอังคาร ปิดตลาดที่ 1,667.12 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 79,246.65 ล้านบาท

⁃ วันพุธ ปิดตลาดที่ 1,678.50 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 87,958.96 ล้านบาท

⁃ วันพฤหัสบดี ปิดตลาดที่ 1,680.02 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 82,469.00 ล้านบาท

⁃ วันศุกร์ ปิดตลาดที่ 1,672.63 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 90,986.73 ล้านบาท

ทั้งนี้ หากแบ่งแยกตามประเภทนักลงทุน พบว่านักลงทุนทั่วไปในประเทศมีมูลค่าการซื้อขายสุทธิในแดนลบมากที่สุด ส่วนนักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการซื้อขายในแดนบวกมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ เป็นไปดังต่อไปนี้

⁃ นักลงทุนต่างประเทศ          +5,277.94 ล้านบาท

⁃ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์         +3,358.22 ล้านบาท

⁃ สถาบันในประเทศ               -4,162.51 ล้านบาท

⁃ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ      -4,473.66 ล้านบาท

โดยหากมองตั้งแต่ต้นมกราคมเป็นต้นมา พบว่านักลงทุนสถาบันในประเทศมีมูลค่าซื้อขายสุทธิในแดนลบมากที่สุด ในขณะที่นักลงทุนต่างประเทศมูลค่าซื้อขายสุทธิในแดนบวกมากที่สุด ดังต่อไปนี้

⁃ นักลงทุนต่างประเทศ         +13,761.32 ล้านบาท

⁃ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์          +5,516.67 ล้านบาท

⁃ สถาบันในประเทศ               -14,918.73 ล้านบาท

⁃ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ        -4,359.25 ล้านบาท

ในส่วนของหุ้นที่มีปริมาณซื้อขายโดดเด่นในแดนบวกตอนปิดตลาดวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบริการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ได้แก่  CGH, GBX, SAWAD, KGI, ASP, MTC ตามมาด้วยกลุ่มสื่อสารอย่าง ITEL TRUE DTAC และกลุ่มธนาคารอย่าง TISCO SCB เป็นต้น

ทั้งนี้ หลายหมวดธุรกิจก็สามารถยืนในแดนบวกได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแฟชั่น (+0.30%) ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลุ่มการเงิน (+3.45%) มีการปรับเพิ่มอย่างโดดเด่น

ส่วนกลุ่มพลังงานก็มียังคงมีแนวโน้มในช่วงขาขึ้น (+0.79%) ในขณะที่กลุ่มบันเทิง (+0.88%) ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ยังไม่สามารถทะลุแนวต้านเดิมได้ และกลุ่มเกษตร (+0.33%) ที่ปรับเพิ่มขึ้นหลังจากย่อตัวอย่างหนัก แต่ยังไม่ทะลุแนวต้านเดิมเช่นกัน กลุ่มเทคโนโลยี (+1.38%) กลุ่มสื่อสาร (+0.17%)

ส่วนกลุ่มที่มีแนวโน้มการแกว่งตัวขึ้นลง ได้แก่ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (+0.10%) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากย่อตัวลงไปก่อนหน้านี้ กลุ่มอุปกรณ์บ้านและสำนักงาน (+1.41%) กลุ่มอุตสาหกรรม (+1.35%) กลุ่มปิโตรเคมี (+0.08%) ยังไม่ทะลุแนวต้านเดิมได้ กลุ่มพัฒนาอสังหาฯ (+0.01%) กลุ่มบริการเฉพาะกิจ (+0.40%) กลุ่มท่องเที่ยว (+0.78%) และกลุ่มเกษตร (+0.06%)

นอกจากนี้ บางกลุ่มยังคงอยู่ในช่วงย่อตัวลง เช่น กลุ่มกองทุนอสังหาฯ (+0.19%) ส่วนกลุ่มอื่นๆ ยังคงปิดตลาดในแดนลบ เช่น กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (-1.89%) กลุ่มขนส่ง (-0.79%) กลุ่มบันเทิง (-0.87%) กลุ่มสุขภาพ (-0.37%) กลุ่มพาณิชย์ (-0.58%) กลุ่มบริการ (-0.59%) กลุ่มพลังงาน (-0.49%) กลุ่มทรัพยากร (-1.25%) กลุ่มก่อสร้าง (-1.86%) กลุ่มเหล็ก (-0.45%) กลุ่มบรรจุภัณฑ์ (-2.39%) กลุ่มยานยนต์ (-0.61%) กลุ่มประกันภัย (-0.47%) เป็นต้น

ในส่วนของสัปดาห์นี้ ทางบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยได้ประเมินว่าแนวต้านจะอยู่ที่ 1,685-1,700 จุด ในขณะที่แนวรับอยู่ที่ 1,650-1,660 จุด ซึ่งปัจจัยที่ต้องจับตามอง อาทิ ผลการดำเนินการงานในไตรมาส 4 ของปีที่แล้วในกลุ่มต่างๆ ที่จะทยอยออกมาจะส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของตลาดอย่างไร ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 และตัวเลขทางเศรษฐกิจสำคัญทั้งในสหรัฐ กลุ่มยุโรปและทางเอเชียอย่างญี่ปุ่นและจีน