HomeOn Radarsพิษเศรษฐกิจชะลอตัว ทำรายได้จากการขาย TIPCO ลดลง ส่งผลงบงวด Q/63 ขาดทุน 294 ลบ.

พิษเศรษฐกิจชะลอตัว ทำรายได้จากการขาย TIPCO ลดลง ส่งผลงบงวด Q/63 ขาดทุน 294 ลบ.

หลายคนคาดการณ์ว่าตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ด้วยสถานการณ์ที่เริ่มมีการกักตัวอยู่บ้าน จะทำให้ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารยิ่งขายดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการกักตุนเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หรือผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ทำอาหารที่บ้าน แต่อย่างไรก็ดี ผลดำเนินงานของหุ้นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เริ่มมีการรายงานออกมาให้เห็นว่า ความจริงแล้ว ธุรกิจกลุ่มนี้ ยังคงได้รับผลกระทบในด้านอื่นๆอยู่ จนสามารถทำให้ผลดำเนินงานของบางบริษัท สรุปผลขาดทุนสุทธิได้

รายได้จากผลิตภัณฑ์พืช ผัก ผลไม้ และเครื่องดื่มของ TIPCO ลดลงจากเศรษฐกิจชะลอตัว ทำบริษัทขาดทุนไตรมาสแรกปีนี้ 294 ล้านบาท

บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลไม้แปรรูป ผลไม้สด น้ำผลไม้ น้ำผัก น้ำแร่ธรรมชาติ เครื่องดื่มพร้อมดื่ม ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สารสกัดจากสมุนไพรและเกษตร ผู้ครองส่วนแบ่งทางการตลาดอันดับ 1 ในตลาดน้ำผลไม้กลุ่มพรีเมียม ได้รายงานผลดำเนินงานในไตรมาส 1/2563 ที่ผ่านมา ว่าบริษัทได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยรวม

ในส่วนของธุรกิจเครื่องดื่มมีรายได้จากการขายลดลง 7% เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากกำลังซื้อภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร

และธุรกิจผลิตภัณฑ์จากพืช ผัก และผลไม้ มีรายได้จากการขายลดลง 33% จากปริมาณส่งออกที่ลดลง เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

โดยสรุป เทียบกับผลดำเนินงานไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดังต่อไปนี้

  • บริษัทมีรายได้จากการขาย 765 ล้านบาท ลดลง 19%
  • รายได้รวม 794 ล้านบาท ลดลง 17%
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวม 888 ล้านบาท ลดลง 13%
  • ต้นทุนขายลดลง 24% จากปริมาณส่งออกที่ลดลง เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต
  • ค่าใช้จ่ายในการขาย ลดลง 11%
  • ค่าใช้จ่ายในการบริหาร เพิ่มขึ้น 50% ส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ และค่าใช้จ่ายขากการหยุดกระบวนการผลิตในธุรกิจผลิตภัณฑ์จากพืช ผัก และผลไม้ เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ
  • ค่าใช้จ่ายอื่น ได้แก่ ขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ชีวภาพ 2 ล้านบาท และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 31 ล้านบาท เนื่องจากในช่วงไตรมาสที่ 1 ค่าเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้น

ทั้งนี้ บริษัทได้มีรับรู้ขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมจำนวน 188 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายทางการเงิน 15 ล้านบาท ลดลง 6% สาเหตุหลักจากการจ่ายคืนเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน