HomeOn Radarsเรียนรู้แนวคิดการบริหาร 2 ผู้นำหญิง KBANK

เรียนรู้แนวคิดการบริหาร 2 ผู้นำหญิง KBANK

หลังจาก “บัณฑูร ล่ำซำ” ได้อำลาทั้งตำแหน่งประธานกรรมการ กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) อย่างเป็นทางการไปแล้ว หลังมีการประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อ 2 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยทางคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) ได้มองฉายา “ประธานกิตติคุณ” (Chairman Emeritus) ให้หลังจากที่ทำงานให้กับ KB์ANK นานร่วม 40 ปี

โดยผู้ที่รับไม้ต่อคือ “กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร” รักษาการประธานกรรมการ ซึ่งหากได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย จะเป็นประธานกรรมการที่เป็นกรรมการอิสระคนแรกของธนาคาร และ “ขัตติยา อินทรวิชัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งกลายเป็นแม่ทัพหญิงที่กำลังจะพา KBANK ฟันฝ่าคลื่นพายุที่กำลังโหมกระหน่ำทั้งจากเศรษฐกิจที่ถดถอยและการยุคที่ดิสรัปชั่น

‘กอบกาญจน์’ : ต้องมีจุดยืนในชีวิต&การทำงาน

ถือเป็นเวิร์กกิ้งวูแมนที่มีประสบการณ์ทำงานที่หลากหหลาย ทั้งในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในการผลิตเครื่องใช้ไฟ้ฟ้าเป็นประธานกรรมการบริหารบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ เป็นที่ปรึกษาสภาหอการค้าไทย รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 

โดยภารกิจที่ต้องทำคือ ต้องทำให้แบรนด์ธนาคารกสิกรไทยมีความเข็มแข็งและดำรงรากฐานการเป็นเศรษฐกิจหลักของประเทศและพร้อมก้าวไปสู่ความเป็นดิจิทัลที่ต้องมีส่วนรับผิดชอบและสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรมากที่สุด ที่จะช่วยทำให้ธนาคารไปสู่การเติบโตระดับอาเซียนได้ ในบทบาทของบอร์ดคือ กำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้ธนาคารทำงานสอดคล้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี และต้องให้ความอิสระในการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร

ปี 2563 เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย

ปีนี้เศรษฐกิจไทยแน่ชัดว่าเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งถ้าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคนี้ได้ภายในไตรมาส 2 คาดว่าจีดีพีปีนี้จะอยู่ที่ -5 % โดยมองตัวขับเคลื่อนหลักเป็นการลงทุนาครัฐที่จะต้องเร่งลงทุน และมองเติบโต 3.3 % ต้องเร่งการลงทุน ส่วนการลงทุนภาคเอกชน -5 %  สิ่งที่กระทบหลักโดยตรงคือ การท่องเที่ยว การส่งออก การบริโภคและการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ

ขณะที่คาดว่าเศรษกิจไทยจะมีการฟื้นตัวเป็นรุปตัว U แต่ก็เชื่อว่าถ้าทุกคนช่วยกันก็สามารถฟื้นตัวเป็นตัว V ได้ ถ้ามีการช่วยเหลือผู้ประกอบการทันที เพื่อให้ธุรกิจสามารถประคองคนให้ได้มากและนานที่สุด และหวังว่าการท่องเที่ยวยังพอมีส่วนสำคัญไทยเริ่มจากไทยเที่ยวไทยเองและเชื่อว่าถ้าคนจีนกลับมา

แม้ท่ามกลางวิกฤตอยากให้ลองได้หยุดคิด ตั้งสติ หรือทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นและที่ผ่านมา การวางแผนที่ดีเพื่อทำธุรกิจจะทำให้บทเรียนนี้เติบโตไปอย่างมั่นคงได้ เพราะช่วงวิกฤตก็สามารถทำให้เป็นโอกาสได้ โดยเราต้องเชื่อมั่นในประเทศไทยและสิ่งที่เราทำ

“เรามักจะเห็นสนามหน้าสีเขียวบ้านอื่น บางทีคิดว่าธุรกิจเราเป็นเหมือนพระอาทิตย์ที่กำลังจะตก ถ้าเราปล่อยให้ตกมันก็จะตกทันที แต่ถ้าเรามองเห็นสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ซึ่งคิดเสมอว่าทุกๆ ที่มันมีสิ่งที่อยู่เพียงแต่กล้าหาญที่จะสร้างสรรค์ขึ้นมา พระอาทิตย์จะพร้อมขึ้นใหม่เสมอ”

หลักการทำงานที่ควรมี

สิ่งที่ให้ความสำคัญตลอด 40 ปีคือ มีอยู่ 3 เรื่อง คือ

  1. ต้องสร้างคนให้มีแรงบันดาลใจ ดึงสิ่งที่ดีของเขาออกมา เพื่อให้เขากล้าคิดนอกกรอบ และกล้าทำ
  2. สิ่งสำคัญที่ต้องทำให้คนเก่งร่วมมือไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในองค์กรอาจจะมีคนเก่งในหลายมิติ แต่สิ่งสำคัญสุดคือ ต้องใจเดียวกันเป้าหมายเดียวกัน ถึงจะมีพลังขับเคลื่อนองค์กรตามฝัน
  3. ผู้นำต้องเข้มแข็ง มีสติ มีวินัยในความนึกคิดหรือการตัดสิในของเรา ตั้งมั่นทำงานบนความถูกต้องบนความเสมอภาค และสามารถเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ  “การเก่งคน” แต่กลับเป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุด ทรัพยากรคนมีคุณค่ามากกว่าเงิน เครื่องจักร หรือเทคโนโลยีที่องค์กรมี แต่ทำอย่างไรที่เราจะสามารถครองใจคนของเรา เพื่อให้เขาทุ่มเทชีวิตทำงานไปกับเราไปให้ถึงจุดหมาย 

สูตรลับความสำเร็จ

สิ่งที่เธออยากแนะนำให้กับคนรุ่นใหม่ที่อยากจะทำงานให้ประสบความสำเร็จและมีความสุข “ต้องมีจุดยืนในการดำรงชีวิตและการทำงาน” เพื่อจะได้แน่วแน่ไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้คือ “การนำสิ่งดีสู่ชีวิต” อีกทั้งต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะปัจจุบันการเรียนจบอะไรไม่ได้มีความสำคัญ หรือการประสบความสำเร็จในอดีตไม่ได้มีความหมายเท่ากับ วันนี้และวันข้างหน้าที่สำคัญกว่า

“เท้าต้องติดดินรับฟังความเห็นของผู้อื่นเพราะโลกอนาคตความรู้ไม่ได้มาจากตำรา เราต้องกล้ารับฟังความเห็นจากคนรอบข้าง ขอให้คิดว่าทุกคนมีโอกาสแม้อยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก โอกาสจะมาเมื่อไรไม่ทราบ แต่ขอให้เชื่อมั่นเรียนรู้และพัฒนาที่สุด ทำทุกวันให้ดีที่สุด 

พร้อมกับรักในสิ่งที่ทำ ซึ่งเป็นไปได้ที่เราถูกให้ทำในสิ่งที่ไม่รักในตอนต้น แต่เราจะเรียนรู้ในสิ่งที่เราจะต้องทำได้ เพราะเมื่อเราทำด้วยความรักเราจะทำด้วยใจ และจะทำให้เรามีความศรัทธา ถ้าเรามีใจรักและศรัทธาในสิ่งที่เราทำ เราจะล้มกี่รอบก็แล้วแต่ แต่เราจะมีพลังขึ้นมาใหม่”

เทียบธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้ากับธนาคาร

ความจริงธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้ามีขนาดเล็กกว่าธนาคารมาก แต่หลายคนอาจมองว่าธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าดูเหมือนเป็นธุรกิจพระอาทิตย์ตกหรือหมดยุคแล้ว แต่ความจริงขึ้นอยู่กับเราว่าจะปล่อยให้มันตกหรือปล่อยให้ขึ้นต่อไป ซึ่งปัจจุบันธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าไทยยังเติบโตได้อย่างยั่งยืน เพราะไม่ยอมแพ้ที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อให้นั่งอยู่ในใจผู้บริโภคต่อไปได้อย่างไรด้วยการปรับธุรกิจและผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามความต้องการในอนาคตของลูกค้า เช่น เดิมทีตู้เย็นอาจจะเป็นเพียงที่เก็บอาหาร แต่ตอนนี้ตู้เย็นต่างเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการห้องครัวสวยกว่าห้องรับแขก ซึ่งอยากบอกว่าสามารถปรับธุริกจและผลิตภัณฑ์เป็นไปตามความต้องการอนาคต 

รวมถึงช่องทางการขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยยังอยู่กับลูกค้าต่างจังหวัดซึ่งยังมีการเติบโต 40-50% อยู่เสมอและยังคงใช้ดีลเลอร์เก่าต่อเนื่อง เพราะสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ เราต้องพัฒนาร่วมกับคู่ค้า โดยนำเจเนเรชั่นใหม่หรือรุ่นลูกรุ่นหลานมาเทรนและสอนให้เขามองว่า การดำเนินในธุรกิจจังหวัดของเขายังสามารถเติบโตได้ เช่นเดียวกันกับการทำงานของธนาคารกสิกรไทย ที่ต้องทำให้เขาเห็นว่าธุรกิจแบงก์อยู่ในมือคนไทยและยังเติบโตไปได้ แม้ปัจจุบันจะต้องเจอดิสรัปชั่นจากเทคโนโลยี แต่ถ้าเราพัฒนาคนของเราเอง พร้อมไปกับการพัฒนาตคู่ค้าเพื่อเติบโตไปด้วยกัน

‘ขัตติยา’ : ต้องพร้อม&พัฒนาตัวเองเสมอ

ถือเป็นลูกหม้อของที่นี่ตั้งแต่เป็นนักเรียนทุนของธนาคารกสิกรไทย แล้วทำงานแทบจะทุกสายงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านมาทุกยุคของการเงินและการธนาคารที่มีการเปลี่ยนแปลง พอถึงวันที่เธอได้รับโอกาสให้เป็น ซีอีโอคนใหม่ที่มารับช่วงต่อจากคุณบัณฑูร ล่ำซำ

เธอยอมรับการรับบทบาทนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายมาก เพราะมีหลายปัจจัยที่ท้าทายและกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ตั้งแต่การดิสรัปชั่นจากเทคโนโลยี ภัยแล้ง โควิด-19 ซึ่งธนาคารมีหลายบทบาทที่ด้านหนึ่งต้องดำเนินธุรกิจให้ผลประกอบการออกมาดีแล้ว แต่ขณะเดียวกันก็ยังเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และต้องทำให้ระบบการเงินการธนาคารของประเทศผ่านไปได้ 

“เป้าหมาย KBANK ยังเหมือนเดิมที่จะช่วยเพิ่มอำนาจให้กับการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจของลูกค้า (Empower Every Customer’s Life and Business) แต่รายละเอียดในการดำเนินงานของเหตุการณ์ได้เปลี่ยนไปตอนนี้ สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องอ่านทางหรือไปดักทางก่อน เพื่อที่จะทำให้ลูกค้าสามารถผ่านวิกฤตนี้ไปได้

การบริหารจัดการต้องพร้อมทุกสภาวะการเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ได้เร่งจัดการทำให้มากขึ้นในภาวะเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ตั้งแต่การส่งมอบบริการทางการเงินไปถึงลูกค้ารายเล็กให้ทั่วถึงมากขึ้น แต่ยังคงหลักระมัดระวังและการบริหารความเสี่ยงที่ดี ซึ่งเป็นโจทย์ที่ควรเร่งทำเป็นอันดับต้นเพราะจะมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

รวมถึงการช่วยลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้ ลดต้นทุนการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Productivity Management) โดยพร้อมส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการถึงลูกค้าได้ดีขึ้น เร็วขึ้น และถูกลง เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน  และยังสามารถเข้าถึงคนส่วนมาก อีกทั้งต้องเข้าถึงลูกค้าที่ไม่เคยได้รับบริการ และยังคงเป็นธนาคารที่สามารถชำระเงินต่อไปให้ได้

ขณะเดียวกัน ต้องมีการจัดการด้านทรัพยากรบุคคล ที่ต้องมีการยกระดับทักษะความสามารถพนักงาน ให้พร้อมรับมือกับภาวะการเปลี่ยนแปลงและเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ

“เป็นความท้าทายที่ค่อนข้างหนัก แต่เมื่อเทียบวิกฤตปัจจุบันกับตอนต้มยำกุ้งปี 2540 มีความแตกต่างกันมาก เพราะปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทมีการลอยตัวแล้ว ภาระหนี้ต่างประเทศไม่สูง และไม่มีการเก็งกำไรในตลาดหุ้นและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มากเหมือนปีวิกฤตต้มยำกุ้ง และปัจจุบันมาตรการความช่วยเหลือของภาครัฐมาเร็วกว่าครั้งที่แล้ว”

แม้ตอนนี้เศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก หนี้ครัวเรือนสูง ซึ่งปกติภายใต้เศรษฐกิจแบบนี้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ย่อมสูงขึ้นไปด้วย แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยยังไม่มีนโยบายลดพนักงาน เพราะปัจจุบันเรามีเงินกองทุนที่เข็มแข็ง

โจทย์เร่งด่วนและแผนงาน KBANK หลังโควิด-19 

KBANK มีเป้าหมายที่ชัดเจนเพราะต้องการเป็นทั้งธนาคารหลักของประเทศและของภูมิภาค และในอนาคตต้องการเป็นองค์กรที่ใหญ่แต่มีความคล่องตัว โดยต้องเข้าใจลูกค้าก่อนที่ลูกค้าจะรู้ว่าเขาต้องการอะไร สามารถมองและดักทางความต้องการลูกค้า ซึ่งแม้คู่แข่งจะเดินไปในทิศทางเดียวกัน แต่เพราะธุรกิจไม่มีวันจบ (Infinite) แน่นอนที่บางจังหวะเราจะเป็นผู้นำ และบางจังหวะที่เราตาม แต่เพราะเกมไม่วันจบ จึงพยายามมุ่งมั่นการไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน 

ปัจจุบันแบ่งทีมงานเป็น 2 ทีมหลัก คือ “ทีมที่ดูแลโจทย์ปัจจุบัน” และ “ทีมที่ดูโจทย์อนาคต” ซึ่งเมื่อพ้นวิกฤตหรือหายไข้แล้วก็พร้อมที่จะวิ่ง โดยอาศัย 8 แนวทางที่ต้องทำภายในอัตราเร่งที่เร็วขึ้น ต้นุทนที่ถูกลง คือ

  1. ผสมผสานการให้บริการเพื่อตอบโจทย์การบริการลูกค้า
  2. ทำงานร่วมกับพันธมิตร
  3. ปล่อยสินเชื่อคนที่ไม่เคยปล่อยมาก่อน
  4. บริหารความเสี่ยงที่ดี
  5. เป็นธนาคารระดับภูมิภาค
  6. ใช้ข้อมูล (Data) อย่างชาญฉลาดและด้วยความรับผิดชอบ ระบบไอทีจะแข็งแกร่ง
  7. สรรหา-พัฒนา-รักษาพนักงาน
  8. โมเดิร์นคลาสไอทีเป็นสิ่งสำคัญ

ปรับ Mind Set 

ประเด็นหลักที่ต้องพยาายามปรับมุมมองเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตรงกันคือ พนักงานต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ต้องมองไปข้างหน้า เนื่องจากต้องพยายามไปดักทางในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เพราะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต แผนงานธุรกิจที่ใช้วันนี้อาจะไม่ใช่แผนธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จในอนาคตก้ได้ ที่สำคัญต้องพร้อมกล้าลองสิ่งใหม่ แม้สิ่งที่ลองอาจจะไม่ประสบความสำเร็จไปบ้าง แต่ก็ต้องปรับให้เกิดการเรียนรู้ทุกอย่างให้เร็ว โดยพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าทุกเมื่อ

“KBANK พยายามผสมผสานบุคลากรที่มีความแตกต่างกัน โดยรวมคนเก่งในหลายมุมเพื่อที่จะสร้างวัฒนธรรมได้หลากหลาย และท้ายสุดทำให้สามารถทำงานร่วมกันได้”

หลักการใช้ชีวิตและการทำงาน

เธอบอกว่า คำว่าโชคดี๊โชคดีในชีวิตไม่มีจริง มีแต่ทุกอย่างมาจากที่เราต้องเตรียมพร้อมและเสริมสร้างพัฒนาตัวเองอยู่เสมอเพื่อรอวันที่โอกาสเข้ามา ก็จะสามารถสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้กับตัวเองได้ โดยที่ไม่ควรหยุดเรียนรู้ หรือพัฒนาทักษะใหม่ เพราะความจริงไม่มีใครจะแก่เกินเรียน ซึ่งปัจจุบันเธอเองก็ยังเรียนออนไลน์อยู่เรื่อง Design Thinking  เพราะมองว่าเป็นทักษะใหม่ที่ควรเรียนรู้ ขณะเดียวกัน เธอยังเรียนภาษาจีนเพิ่มเพราะ KBANK มีแผนที่ต้องการเป็นธนาคารระดับภูมิภาค

สำหรับมุมมองการบริหารงานและเวลา เธอมองว่า ถ้ามีงานไหนที่คนอื่นทำแล้วมีความถนัดและทำได้ดีกว่า งานชิ้นนั้นก็ต้องให้คนอื่นทำ ซีอีโอควรโฟกัสตรงไหนให้ถูกจุด การที่เราจะดูแลลูกค้าได้ดี ต้องเริ่มจากต้องเชื่อมั่นในทีมของเราก่อน

…นี่คือมุมมองของ 2 แม่ทัพหญิงของ KBANK ที่เชื่อว่าถึงวันนี้ไม่ว่าพายุจะโหมกระหน่ำเศรษฐกิจมากขนาดไหน แต่ด้วยหลักคิด หลักการทำงานที่ถือว่าเชี่ยวประสบการณ์ไม่น้อย พร้อมกับการไม่ยอมนิ่งเฉยต่อการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาตลอด เชื่อว่าเวิร์กกิ้งวูแมนทั้งท่านนี้จะนำพาธนาคารแห่งนี้เติบโตในระดับภูมิภาคได้ไม่ยาก …