HomeOn Radarsพร้อมยังกับการใกล้จุดพีคของโควิด-19

พร้อมยังกับการใกล้จุดพีคของโควิด-19

เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับลดมุมมองล่าสุดของจีดีพีไทยปี 2563 หดตัวอย่างรุนแรง -5.3 % เคยประมาณการณ์เดือน ธ.ค. ไว้ +2.8%  สิ่งที่นักวิเคราะห์มองสะท้อนกับคือ ครั้งนี้ ธปท.มาแรงเกินคาด และน่าจะเป็นฐานของการที่จะทำให้สำนักเศรษฐกิจของแต่ละแห่งมีการทบทวนอีกครั้งว่า ประมาณการณ์ที่ได้ประเมินไว้นั้นรวมปัจจัยลบจากการแพร่ไวรัสโควิด-19 มากขนาดไหน โดยเฉพาะตัวเลขของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ปีนี้ลดลงไปอาจไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ปี 2564 ยังอยู่ในจุดที่ดูยังไงก็ฟื้นมาไม่มาก ซึ่งแบงก์ชาติกำลังจะชี้ให้เห็นว่าโควิด-19 มันทำให้การท่องเที่ยวไทยลากยาวหรือเปล่า

ขณะที่เริ่มมีมุมมองชัดเจนมากขึ้นแล้วว่า ไตรมาส 2 นี้มีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) เป็นที่แน่นอนแล้ว 

เศรษฐกิจไทยถดถอยแน่ไตรมาส2

“วิจิตร อารยะพิศิษฐ” ผู้อำนวยการอาวุโส นักกลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิจัย บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) บอกว่า ในสัปดาห์ก่อนทางเมยแบงก์ฯ ภูมิภาคเพิ่งมีการปรับมุมมองจีดีพีไทยปีนี้เป็น -0.5 % ซึ่งมุมมองส่วนตัวมองว่า ตอนนี้เศรษฐกิจไทยเริ่มเข้าสู่ Recession แน่นอนแล้ว เพราะเชื่อว่าจีดีพีไทยไตรมาส 1 ติดลบอยู่แล้ว แต่ไตรมาส 2 น่าจะติดลบมากกว่าไตรมาส 1 เพราะจะเห็นภาวะการขยายตัวของผู้ติดเชื้อโควิด-19 เช้าสู่ระดับสูงสุด

“ไตรมาส 1 ที่ว่าโดนปัจจัยลบหลายเรื่องแล้ว ไตรมาส 2 ที่น่าจะพังกว่าไตรมาส 1 เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะกลับมาพีคในช่วงนี้ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อจีดีพี 2 ไตรมาสติดลบติดต่อกันแสดงว่าเศรษฐกิจไทย Recession แน่นอน และเป็นการการถดถอยครั้งที่ 5 หลังจากเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540”

  • 2540 วิกฤตต้มยำกุ้ง
  • 2551 วิกฤตซับไพร์ม / วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
  • 2556 ผลหลังน้ำท่วมปี 2554 มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ + รถยนต์คันแรกในปี  2555 
  • 2557  สถานการณ์ทางการเมืองไม่แน่นอนธุรกิจส่วนใหญ่ชะลอตัว 

เช่นเดียวกับ  “สรพล วีระเมธีกุล” ผู้อำนวยการอาวุโส บล.กสิกรไทย ที่มองว่าสัญญาณเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยมาแน่ชัดแล้ว เพราะแบงก์ชาติมองเฉลี่ยทั้งปี -5.3 % แสดงว่ามีโอกาสที่บางไตรมาสที่เราจะเห็นจีดีพี -10 % โดยส่วนตัวมองว่าจะเห็น Recession ช่วงไตรมาส 2 -ไตรมาส 3 ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าเป็นผลกระทบโดยตรงจากโควิด-19 

แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าประเทศอื่นๆ ก็มีโอกาสอยู่ในภาวะ Technical Recession เช่นเดียวกัน อย่างประเทศญี่ปุ่นที่ล่าสุดประกาศเลื่อนการจัดงานโอลิมปิกไปเป็นปี 2564 แทน ทั้งๆ ที่มีการลงทุนการจัดและเตรียมงานไปหมดแล้ว ขณะที่สหรัฐก็พยายามอัดฉีดมาตรการทุกอย่างทั้งทางการเงินและการคลังเพื่อประคองเศรษฐกิจ โดยมองว่าปีนี้เศรษฐกิจที่จะยังออกมาดูดีอยู่คือประเทศจีน เพราะมีการตัดและแก้ไขปัญหาโควิด-19 ให้จบก่อนที่จะค่อยใช้มาตรการต่างๆ เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว 

บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า การที่แบงก์ชาติมองจีดีพีติดลบถือเป็นระดับที่มากกว่าครั้งวิกฤตซับไพร์มที่มองเพียง -0.7 % และตอนวิกฤตต้มยำกุ้งที่จีดีพี -7.6%

ตกใจกับตัวเลขการท่องเที่ยว 

บล.แมยแบงก์ฯ และ บล. กสิกรไทย มองในทิศทางเดียวกันว่า เรื่องการปรับมุมมองของตัวเลขการบริโภค การลงทุนเอกชน หรือการส่งออกจากที่ ธปท.ที่เคยมีมุมมองเป็นบวก ต่างปรับเป็นมุมมมองลบ ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ว่าเมื่อทุกอย่างมันหยุดเดินตามสถานการณ์ก็ต้องเจอผลกระทบ

สิ่งที่น่าสังเกตอยู่ตรงที่ตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ปี 2563 ที่ปรับมุมมองเหลือเพียง 15 ล้านคน จากที่เคยมองไว้ที่ 41.7 ล้านคน เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้เพราะสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ยังไม่จบและลากยาวไป แต่สิ่งที่ต้องทำให้ฉุกคิดคือ ธปท.ประเมินจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2564 มีเพียงแค่ 20 ล้านคน ซึ่งถือว่าไม่ได้เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีนี้ที่ 15 ล้านคน โดยปกติกการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวเฉลี่ยอยู่ที่ 5-10 % ต่อปี หรือมีจำนวนในระดับเฉลี่ยที่ 40 ล้านคน/ปี 

“เป็นการสะท้อนว่าผลกระทบโควิด-19 ส่งผลในระยะยาว โดยไม่น่าจะจบได้ภายในปีนี้หรือเปล่า และถือว่านานกว่าที่ตลาดคาดการณ์กันไว้ว่า สถานการณ์เริ่มพีคไตรมาส 2 และเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้นในไตรมาส 3”วิจิตรกล่าว

กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบ

“สรพล” มองว่า การปรับลดของจีดีพีที่หนัก -5.3 % ย่อมเชื่อมโยงไปกับทุกภาคอุตสาหกรรมโดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบชัดเจนคือ ธนาคารพาณิชย์ ค้าปลีก และอสังหาริมทรัพย์

ขณะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่หดตัวอย่างแรง ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงคือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มไฟแนนซ์และกลุ่มโรงแรม ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่บนสมมติฐานของ บล.กสิรไทยไทยที่มองจีดีพีปีนีี้ -5.8 % ซึ่งเป็นการปรับลงจากเดิมที่มองจีดีพีปีนี้ที่ +0.4 % 

ลงทุนอย่างไรไตรมาส 2

“วิจิตร“ มองว่า หลังจากนี้จะเริ่มเห็นสำนักเศรษฐกิจปรับลดมุมมองนำความเสี่ยงโควิด-19 เข้าไปมากขึ้น เพราะกลับมามองว่าตัวเองอาจจะมีการให้สมมติฐานใส่ปัจจัยเรื่องโควิด-19 น้อยไป และยึดฐานของแบงก์ชาติกรณีเลวร้ายมากสุด

ปัจจุบันเมยแบงก์ กิมเอ็งให้อัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (Eps Growth) ที่ 85 บาทต่อหุ้น ดัชนีมีโอกาสแรลลี่กลับมาช่วงสื้นปีนี้ที่ 1,380 จุด นี้ได้ แต่ระหว่างนี้จังหวะที่สามารถเก็บเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรคือ 930 จุด และไปขายทำกำไรที่ 1,220 จุด ส่วนนักลงทุนระยะกลางและยาวที่จะต้องใช้ความกล้าในการเข้าไปเริ่มทยอยสะสมหุ้นระดับที่ต่ำกว่า 1,000 จุดได้ ซึ่งตอนนี้ก็๋มีหลายอุตสาหกรรมที่ราคาหล่นมาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริง 

แมยแบงก์แนะนำ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (ฺBAM) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF)  บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG) และบริษัท บัตรกรุงไทย (KTC)