“ความคิดเห็นของผมเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19“
แปลจากบทความ “My Thoughts About the Coronavirus” โดย Ray Dalio
ผมขอย้ำเกี่ยวกับมุมมองที่ครอบคลุมของผม แม้ว่าผมจะไม่ชอบคาดเดาในสิ่งที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เปรียบในเรื่องนั้น ผมไม่ชอบการคาดเดาที่ใหญ่โตสักเท่าไหร่ และผมพยายามมองหาวิธีวางใจให้เป็นกลางบนความไม่รู้ มากกว่าที่จะหาวิธีคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องไวรัสโควิด-19 ตอนนี้ผมก็ยังคิดไม่ออกว่าสถานการณ์นี้น่าจะหมายถึงอะไรและเราควรจัดการกับมันอย่างไร ดังนั้นบทความนี้จะพูดถึงเกี่ยวกับความคิดเห็นของผมว่าคุณควรจะทำอย่างไร
ในระหว่างที่อ่านบทความนี้ โปรดรับรู้ว่าผมไม่เชี่ยวชาญเรื่องไวรัส ถึงแม้ว่าผมจะพยายามมองเรื่องนี้ออกเป็นสามมุมมองร่วมกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ดังนั้นมุมมองเพียงเล็กน้อยก็มีคุณค่า และนี่คือความคิดของผม
มุมมอง 3 มุม
ผมเห็นว่ามี 3 สิ่งที่มีความแตกต่างกัน แต่มีความเชื่อมโยงถึงกัน ซึ่งคุณไม่ควรสับสน ได้แก่ 1.) ไวรัส 2.) ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปฏิกิริยาต่อไวรัส 3.) การเคลื่อนไหวของตลาด ปฏิกิริยาตอบโต้ทางอารมณ์อย่างรุนแรงส่งผลกระทบต่อ 3 สิ่งนี้ ไม่ว่าจะส่งผลกระทบต่อด้านใดด้านหนึ่งหรือทุกด้าน ต่างทำให้เกิดการประเมินมูลค่าความเสียหายที่ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง จนเศรษฐกิจตกต่ำอีกครั้ง ผมกังวลว่ามันจะสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างมาก จบด้วยการสร้างวงจรหนี้สินขนาดใหญ่ (เมื่อหนี้สินสูงขึ้นและธนาคารกลางไร้ซึ่งประสิทธิภาพต่อการพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ)
1.) ไวรัส
ไวรัสเอง มันเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป และอิทธิพลต่อความอารมณ์ผู้คนอย่างมาก ไวรัสจะส่งผลต่อวิกฤตการณ์สุขภาพระดับโลกที่ทำให้การบริหารต้นทุนมนุษย์และเศรษฐกิจสูงขึ้น แต่เราจะจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างไร และอะไรคือผลกระทบที่จะตามมาในแต่ละพื้นที่ (ซึ่งกระทบต่อพฤติกรรมในตลาดด้วย)
การจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสจะมีประสิทธิภาพที่สุดในบริเวณที่ 1.) ผู้นำสามารถตัดสินใจได้อย่างดีและรวดเร็ว 2.) ประชาชนยินยอมทำตามคำสั่งของผู้นำ 3.) หน่วยงานราชการบังคับใช้แผนการที่ดี 4.) ระบบสาธารณสุขสามารถคัดกรองและรักษาไวรัสได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้นำต้องขอความร่วมมือลดกิจกรรมทางสังคมอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในช่วงที่ไวรัสกระจายตัวรุนแรงขึ้นและยกเลิกคำสั่งอย่างรวดเร็วเมื่อการแพร่กระจายของไวรัสลดลง
ผมเชื่อว่าจีนสามารถจัดการเรื่องนี้ได้อย่างดีเยี่ยม ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วสามารถจัดการได้ในระดับดี ส่วนประเทศที่อ่อนแอกว่านั้นอาจจะเผชิญกับอันตรายอย่างถึงที่สุด เพราะเหตุนี้จึงเคยมีคนบอกผมว่าไวรัสจะกระจายตัวไวในประเทศอื่น ๆ นอกจาก 4 ปัจจัยข้างต้นแล้ว สภาพอากาศก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการแพร่ระบาดของไวรัสเช่นกัน (เข่น ในพื้นที่อากาศร้อนในซีกโลกใต้เส้นศูนย์สูตรจะเป็นพื้นที่ยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัส)
เนื่องจากไวรัสโควิด-19 กระจายตัวอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ รวมถึงมีการรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข่าวสารก็มีส่วนทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกด้วย เช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกาที่มีการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเกิดความตื่นตระหนกที่รุนแรงมากขึ้นและการควบคุมกิจกรรรมทางสังคมอย่างเข้มงวดขึ้น ยังมีคนบอกผมอีกว่าความตึงเครียดในโรงพยาบาลจะเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การรับมือกับผู้ป่วยยากลำบากมากขึ้น ในช่วงระยะสั้นนี้ เขาบอกว่าเราควรคาดการณ์ว่าสถานการณ์จะร้ายแรงมากขึ้นในอนาคต
2.) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
ไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจตกต่ำในระยะสั้นและตามมาด้วยการปรับตัวขึ้นอีกครั้ง ซึ่งไม่ได้ส่งผลต่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจมาก ความจริงอย่างหนึ่งคือในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นแล้วว่าจำนวนผู้เสียชีวิตที่มีเป็นจำนวนมากส่งผลต่ออารมณ์ของผู้คนมากกว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจและตลาด ผมมองเรื่องนี้จากเหตุการณ์ช่วงไข้หวัดใหญ่สเปนระบาด ซึ่งผมมองว่าเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดแล้ว ผมเชื่อว่ากรณีอื่นก็จะส่งผลเช่นเดียวกัน
ขณะที่ผมไม่คิดว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลต่อเศรษฐกิจในระยะยาว ผมไม่สามารถบอกได้อย่างมั่นใจว่ามันจะไม่ส่งผลเช่นนั้น เพราะผมเชื่อว่าประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นเมื่อ 1.) เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการเมืองและการต่อสู้กันของประชาชนที่อยู่คนละข้างของอุดมการณ์ 2.) เศรษฐกิจตกต่ำจะสร้างความขัดแย้งมากขึ้น พร้อมกับทำลายประสิทธิภาพการตัดสินใจ และทำให้สถานการณ์แย่ลงเมื่อ 3.) หนี้สินเพิ่มขึ้นและนโยบายทางการเงินไร้ประสิทธิภาพ และ 4.) เกิดการเพิ่มอำนาจเพื่อท้าทายอำนาจเดิมที่มีอยู่ของโลก เหตุการณ์ล่าสุดเกิดขึ้นในช่วงปี 1930 ที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และช่วงเวลาก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 แน่นอนว่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมืองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะกลายเป็นประเด็นสำคัญในวันซูเปอร์ทิวสเดย์ (Super Tuesday)
3.) ผลกระทบต่อตลาด
ตอนนี้โลกของเรายังคงอยู่ด้วยเงินสดจำนวนมาก เช่น นักลงทุนยังคงถือสินทรัยพ์ระยะยาวและสินทรัพย์เสี่ยงอื่นมากขึ้น เพราะอัตราดอกเบี้ยต่ำเปรียบเทียบกับผลตอบแทนที่คาดหวังจากตราสารทุน ความต้องการใช้ประโยชน์จากผลตอบแทนต่ำที่มากขึ้นทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ การลดกิจกรรมทางธุรกิจจะลดรายได้จนกว่าการแพร่ระบาดของไวรัสจะหมดไป และเมื่อธุรกิจกลับมาดำเนินการอีกครั้งก็จะทำให้รายได้ปรับตัวขึ้นมาอีกครั้ง สิ่งนั้นควรจะทำให้กราฟการเงินของบริษัทเป็นรูปตัว V หรือ U ในเกือบทุกบริษัท ถึงแม้ว่าในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ตลาดจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างรุนแรงกลายเป็นเรื่องสำคัญ
เราจะบอกคุณว่าเหตุการณ์อะไรที่จะเกิดขึ้นในช่วงระยะสั้นนี้ ผมเดาว่าตลาดจะไม่สามารถแยกแยะระหว่างธุรกิจที่ไม่สามารถทนทานต่อสภาพเศรษฐกิจได้ชั่วคราว และให้ความสำคัญกับรายได้ที่หายไปอย่างฉับพลัน มากกว่าผลกระทบต่อเครดิตของธุรกิจ เช่น ธุรกิจที่มีเงินสดมากและได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจชั่วคราวจะได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบแต่มีนี้สินระยะสั้นสูง
มากไปกว่านั้น ผมมองว่านี่เป็นหายนะในรอบ 100 ปีที่ทำลายผู้คนที่ทำประกันและไม่ทำประกันเพื่อป้องกันตัวเอง เพราะพวกเขามองว่าประกันชีวิตเหมือนการพนัน เป็นการเดิมพันที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องทำประกันก็ได้ เพราะเหตุการณ์เหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้น
เรื่องเล่าเหล่านี้มีหลายรูปแบบ เช่น บริษัทประกันภัยที่ทำประกันครอบคลุมเหตุการณ์ที่เราต้องประสบพบเจอ สำหรับผู้ซื้อประกันก็คาดหวังว่าจะได้รับประกันภัยชั้นเลิศและครอบคลุมการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน เมื่อราคาค่ารักษาพยาบาลใกล้ถึงค่าประกัน เป็นตัน
ตลาดกำลังจะได้รับผลกระทบจากผู้เล่นในตลาดที่ถูกบีบรัดและถูกบังคับ เพื่อทำให้ตลาดขับเคลื่อนต่อไป เพราะกระแสเงินสดมากกว่าการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานอย่างถี่ถ้วน เราจะเห็นเหตุการณ์แบบนี้ในตลาดที่ไม่ได้รับการประกันที่ผิดปกติและพื้นฐานมาก นอกจากนี้ยังน่าสนใจอีกว่าในช่วงที่เศรษฐกิจย่ำแย่เช่นนี้ บางบริษัทได้รับผลตอบแทนมีความน่าดึงดูดขนาดไหน
ตราบใดที่ยังมีความกังวลเรื่องนโยบายของธนาคารกลางอยู่ การลดอัตราดอกเบี้ยหรือสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น อาจไม่ส่งผลให้กิจกรรมการจับจ่ายใช้สอยจากผู้คนที่ไม่อยากออกจากบ้านไปซื้อของ เพิ่มขึ้นมาได้ แม้ว่าบรรดาแบงก์ชาติจะสามารถกระตุ้นให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้นมาได้บ้างก็ตาม จากการปรับให้อัตราดอกเบี้ยเกือบไปแตะที่ศูนย์ นั่นคือความจริงในสหรัฐอเมริกา ในยุโรปและญี่ปุ่นที่นโยบายทางการเงินไม่สามารถทำอะรได้แล้ว มันยากที่จะจินตนาการเหลือเกินว่านโยบายทางการเงินเพียงอย่างเดียวจะทำงานได้อย่างไร
ในยุโรปน่าสนใจตรงที่ว่านโยบายการคลังจะสามารถพยุงสถานการณ์นี้ได้หรือไม่ในสภาพแวดล้อมทางการเมืองเช่นนี้ เช่นเดียวกับทุกประเทศที่ไม่ได้คาดหวังว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจจะมาจากการลดอัตราดอกเบี้ย เพราะการลดอัตราดอกเบี้ยมีผลผ่านการลดผลตอบแทนพันธบัตรและเงินสด ซึ่งทำให้ตราสารทุนและสินทรัพย์อื่นมีมูลค่าลดลงเช่นกัน ผมจึงมองว่าการพยุงเศรษฐกิจจำเป็นต้องใช้ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง พุ่งเป้าหมายไปที่การจัดการหนี้สินและสภาพคล่อง มากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยและเพิ่มสภาพคล่องในวงกว้าง
สินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดที่คุณควรจะดูแลให้ดีคือครอบครัวของคุณ หากมองเป็นการลงทุนแล้ว ผมหวังว่าคุณจะจินตนาการณ์ถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดและป้องกันตัวเองจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในครั้งนี้ด้วย
รู้จัก ‘เรย์ ดาลิโอ’
เรย์ ดาลิโอ (Ray Dalio) เป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหารกองทุน Bridgewater Associates กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกกองทุนหนึ่งตั้งแต่ปี 1975 อีกทั้งยังเป็นผู้เขียนหนังสือ ‘Principles’ และ ‘Principle for Success’ หนังสือที่บอกเล่าหลักการของความสำเร็จอีกด้วย
อ้างอิง
https://www.linkedin.com/pulse/my-thoughts-coronavirus-ray-dalio/