HomeOn RadarsSET เหนื่อยหน่อยนะอยู่กับฉัน (โควิด-19)

SET เหนื่อยหน่อยนะอยู่กับฉัน (โควิด-19)

เซอร์ไพรส์กันไปบ้างหลังธนาคารกลางและคลังทั่วโลกประชุมกลุ่ม G7 และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก็กลับมาหั่นดอกเบี้ยนโยบายลงทันที 0.5 % ซึ่งเป็นไปก่อนที่จะมีนัดประชุม FOMC วันที่ 18 มี.ค. นี้ ถือว่ามาเร็วและแรงกว่าที่คาดการณ์กันน ช่วงแรกดูเหมือนตลาดหุ้นสหรัฐตอบรับข่าวดี แต่ปรากฎว่าดัขนีปิดร่วงกันไป ด้านดัชนีหุ้นไทย (SET) ก็เหมือนคาราคาซังไม่รู้จะเอาอย่างไรดี เคลื่อนไหวทั้งแดนบวกและลบตลอดวัน ก่อนกลับมาปิดบวกได้เล็กน้อย

กูรูชี้ต้องหาคีย์เวิร์ดทำไมเฟดถึงลดดอกเบี้ย

“สุกิจ อุดมศิริกุล” กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บล.ไทยพาณิชย์ มองว่า เฟดทำเพราะไม่อยากให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่ลดดอกเบี้ยช้าไป เพราะมองไปข้างหน้าเศรษฐกิจมีความเสี่ยงถดถอยสูงขึ้น จะแก้ยากหากเกิดวิกฤติความเชื่อมั่นและขาดสภาพคล่องทางการเงิน เพราะการลดดอกเบี้ยเร็วจะช่วยให้ตลาดการเงินไม่ตื่นตะหนกเวลาเห็นตัวเลขเศรษฐกิจแย่ในอนาคต พร้อมกับกดดันให้ธนาคารกลางทั่วโลกลดอัตราดอกเบี้ยตามเพื่อประคองเศรษฐกิจ ซึ่งการที่อัตราดอกเบี้ยจะต่ำไปอีกนาน ส่งผลให้สภาพคล่องที่จะไหลเข้าตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น เพียงแต่รอเวลาที่ความเสี่ยงลดลงเท่านั้น 

“ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์” ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส มองว่า ถือว่าเฟดอาจจะเห็นข้อมูลสำคัญและประเมินว่าผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบในเชิงกว้างจริงๆ และน่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ จึงเรื่องใช้มาตรการทางการเงินออกมาก่อนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไว้ก่อน 

เช่นเดียวกับ “ดร.อมรเทพ จาวะลา” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย มองว่า เฟดมีความต้องการชัดเจนว่าต้องการกระตุ้นหรือพยุงเศรษฐกิจสหรัฐไม่ให้อยู่ในช่วงขาลง หรือไม่ให้เข้าสู่ภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เพราะหุ้นสหรัฐก็ไม่ตอบรับ เห็นชัดว่านักลงทุนขายสินทรัพย์เสี่ยงเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยจนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีสหรัฐลดลงมาต่ำกว่า 1 %  

“การลดดอกเบี้ยถ้าจะลดครั้งแรกต้องลดแรงๆ เพื่อให้คนสามารถทำอะไรได้บ้าง การลดลงทีละนิดอาจจะทำอะไรไม่ทัน จากนี้ก็จะเห็นประเทศอื่นๆ ลดดอกเบี้ยลงชัดเจน”

คิวอีมาใหม่ แต่ไม่มากเท่าซับไพร์ม

เอเซีย พลัส มองว่า ปริมาณคิวอีที่เฟดจะทำครั้งนี้อาจจะมีแต่คงไม่มากเท่ากับตอนที่เกิดวิกฤตซับไพร์มปี 2551 ที่ปัญหาเกิดจากภาคอสังหาริมทรัพย์และลามมาภาคการเงินของสหรัฐ ซึ่งผิดกับครั้งนี้เหตุการณ์ครั้งนี้ที่จุดเริ่มต้นของปัญหาคือที่จีนและยังเกิดขึ้นนอกประเทศสหรัฐ แต่การเกิดของปัญหากลับทำให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสที่จะชะลอตัว  

“ประกิต สิริวัฒนเกตุ” ผู้อำนวยการอาวุโส บลจ.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ กล่าวว่า วิกฤตแฮมเกอร์คือ เกิดภาวะอุปโภคหายหรือหดตัวรุนแรง  (Demand Shock) เพราะราคาสินทรัพย์ลดลงอย่างรุนแรงจากวิกฤตหนี้เน่า แตกต่างจากปัจจุบันที่เป็นกำลังการผลิตของโลกได้มีการหดตัวอย่างรุนแรง (Supply Shock) เพราะซัพพลายเชนต้องชะลอตัวลงเนื่องจากมีการปิดโรงงานที่ประเทศจีน  

จากนี้ไปจะเห็นหลายประเทศมีการใช้มาตรการทางการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยในระดับที่ต่ำต่อไป เช่นเดียวกันพร้อมใช้นโนบายการคลังเข้าไปเสริมอย่างมีนัยสำคัญ เช่น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งการลดภาษีเช่นกัน แต่สิ่งที่น่าจับตาคือ ตอนนี้เฟดสามารถกลับไปอัดคิวอีได้อีก เพราะปัจจุบันอัตราส่วนงบดุลหารกับจีดีพีอยู่ที่ 19 % เท่านั้น ซึ่งเทียบกับในอดีตที่เคยขึ้นไปอยู่ระดับ 25 % 

SET อาจรีบาวด์ แต่ไม่เท่าตลาดอื่น

“ณัฐชาต เมฆมาสิน” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนิตี้ มองว่า ปัจจุบันผลตอบแทนพันธบัตรอายุปี 10 ปี สหรัฐก็ปรับลงต่ำกว่า 1 % ซึ่งรวมถึงของไทยด้วย เท่ากับว่าสภาพคล่องโลกมีโอกาสไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นได้ในเชิงจิตวิทยาและในระยะยกลางยาว หากเริ่มเห็นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ลดลง แต่คำถามคือ ตลาดหุ้นไทย (SET) อาจะไม่ได้รับรับอานิงสงส์นี้เหมือนกับตลาดหุ้นอื่นแม้อาจจะเห็นโควิด-19 มีการแพร่เชื้อที่เบาบางลง 

“คำตอบของการกลับมาตลาดหุ้นแต่ละประเทศจะอยู่ที่ผลของสรุปของเหตุการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ต้องลดลง แต่เนื่องจากประเทศไทยมีปัจจัยเฉพาะตัวที่ยังซ้อนอยู่ โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งที่ถือว่าวิกฤตหนักในรอบ 40 ปี ทำให้เราอาจไม่ได้รับผลการฟื้นตัวจากรอบนี้เท่าไร อีกทั้งกระสุนมาตรการการเงินของไทยก็เหลือน้อยลง เพราะแม้คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. จะลดดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุม 25 มี.ค. ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติคือ ตอนนี้ดอกเบี้ยของไทยเมื่อหักกับเงินเฟ้อก็เหมือนติดลบอยู่แล้ว ความคาดหวังอย่างเดียวคือ รัฐต้องใช้มาตรการทางการคลัง เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น โดยความหวังแรกคือ การเบิกจ่ายพ.ร.บ.งบประมาณปีนี้ออกมาให้เร็วที่สดุ” ณัฐชาตกล่าว