HomeOn Radarsรอหั่นจีดีพี-เฉือนEPSหลังถูกหน่วงจากไอพีโอCRC-ห่วงไตรมาส1

รอหั่นจีดีพี-เฉือนEPSหลังถูกหน่วงจากไอพีโอCRC-ห่วงไตรมาส1

เดือน ม.ค.เพิ่งผ่านพ้นไป ใจหายใจคว่ำกันไปแล้ว แม้ย่างเข้าเดือน ก.พ. นึกว่าจะพอเห็นแสงสว่างพอให้ใจระยิบระยับกันบ้าง แต่ก็ดูเหมือนจะยากแสนเข็ญ เพราะดูเหมือนปัจจัยที่หลายเรื่องยังมีหลายประเด็นที่คาราคาซังให้ผู้ลงทุนหายใจไม่คล่องคออย่างต่อเนื่อง แถมดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเดือน ก.พ. ที่คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า เข้าสู่ช่วงซบเซาครั้งแรกในรอบ 4 ปี

คำถามคือว่า ตอนนี้เรายังฝากความหวกับปัจจัยไหนบ้าง และจะลงทุนอย่างไรดี???

Trade War ยังมีอยู่และไวรัสโคโรน่าก็มาเสริม

“วิจิตร อารยะพิศิษฐ” ผู้อำนวยการอาวุโส นักกลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิจัย บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) มองว่า ตอนนี้ยังมีหลายปัจจัยที่ยังต้องติดตามเพราะสงครามการค้า (Trade War) ที่ยังมีการใช้มาตรการกันอยู่ แม้จะมีการเจราเฟสแรกกันไปแล้ว รวมถึงยังเป็นผลกระทบที่ไวรัสโคโรน่าที่มีผลต่อการการขยายตัวเศรษฐกิจ (GDP) ของเศรษฐกิจโลก ซึ่งนำโดยจากที่่คาดว่าปีนี้ GDP จีนจะอยู่ที่ 6 % แต่มีการประเมินกันว่าไวรัสนี้จะส่งผลกระทบต่อ GDP จีนประมาณ 1 % แต่ก็ต้องลุ้นดูว่า มาตรการที่่จีนใช้ทั้งการเงินการคลังจะทำให้ GDP จีนออกมาเป็นอย่างไร

ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องน่าจับตาตอนนี้คือ เป็นที่แน่ชัดหรือไม่ว่า หากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์ (SET) ปี 2562 ที่จะออกมาสิ้นเดือน ก.พ.นี้ แม้เป็นสิ่งที่นักลงทุนรับรู้กันแล้วว่า งบจะออกมาไม่ดีเนื่องจากมีปัจจัยที่ต่อเนื่องมา แต่สิ่งสำคัญคือ จะรู้โมเมนตัมได้อย่างไรหรือมีอะไรคอนเฟิร์มได้ว่า ไตรมาส  4 ปี2562 จะเป็นช่วงที่ผ่านจุดเลวร้ายไปแล้วหรือไม่ เพราะบางอุุตสาหกรรมที่คาดว่าแย่แล้วในไตรมาส 4 และหวังจะพลิกฟื้นในไตรมาส 1 ของปีนี้ ก็กลับโดยปัจจัยลบที่มากมายถล่มกันตั้งแต่ปีใหม่ที่ผ่านมา จนราคาหุ้นปรับลงมา หรือผลจากเชิงท่องเที่ยวของไทยที่ได้รับจากนักท่องเที่ยวจีนที่หายไป

เริ่มเห็นการปรับลด GDPไทย

บล.เอเซีย พลัส ได้ปรับลด GDP ไทยปี 2563 ลงมาอยู่ที่ 2% จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.8 % ซึ่งเป็นผลมาจากที่มีการประเมินจากผลการปรับลดประมาณการณ์ตัวขับเคลื่อนตัวภาคเศรษฐกิจทั้ง 4 ตัวลง

ตั้งแต่ตัวเลขการ “ส่งออก” ที่ปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP สูงถึง 68 % มองว่ามีโอกาส -1.5 % ซึ่งถือเป็นการประเมินพลิกกลับจากเดิมที่คาดว่าปีนี้ส่งออกไทยจะเป็น +0.5 % ได้ สาเหตุที่ปรับเป็นเพราะกำแพงภาษีระหว่างสหรัฐยังคงมีอยู่จริง อีกทั้งไวรัสโคโรน่ามีผลต่อการชะตัวเศรรษฐกิจไม่ทั่วโลก แม้ตอนนี้จะเริ่มเห็นว่าอัตราการติดเชื้อรายวันเริ่มเติบโตที่ลดลง

เช่นเดียวกัน “ปรับลดลงของการบริโภคครัวเรือน” เหลือเป็น +2.2% จากเดิมคาดว่าจะอยู่ที่ 3 % ได้ เนื่องจากเดิมมีแต่การประเมินจากปัจจัยภัยแล้ง โดยยังไม่ได้มีการประเมินผลกระทบทั้งจากฝุ่น PM 2.5 และไวนัสโคโรน่าที่ทำให้คนออกไปนอกบ้านจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ซึ่งหลายคนฝากความหวังว่า รัฐจะมีการมาตรการมากระตุ้นเศรษฐกิจไทยอย่างไรต่อไป

ขณะที่การลดลงมากที่สุดคือ “การลงทุนของภาครัฐ” ที่มองว่าจะเป็น +6 % แต่ตอนนี้ประเมินโตเพียง +2 % มีการความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบรายจ่ายประจำปี 2563 ที่หากเทียบบนสมมติฐานที่ปีก่อนที่มีการเบิกจ่ายจริงสัดส่วนที่น้อยในแต่ละไตรมาส และพอมีการเสียบบัตรจนมีการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ จนทุกอย่างจากที่มีการเบิกจ่ายงบล่าช้าอยู่แล้ว คาดว่าจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบจริงก็ เม.ย.หรือพ.ค. และถ้าจะให้มีการมีการเติบโตที่เร็ว การเบิกจ่ายจริงจะทำในปริมาณที่สูงมาก ส่วนประเด็นการลงทุนของภาครัฐก็มีการชะลอและช้ากว่าที่คาดไว้

สำหรับ “การลงทุนภาคเอกชน” ก็เป็นไปตามการลงทุนภาครัฐที่มีการชะลอชัดเจน โดยมองว่าจะ +2.5 % ลดลงจากเดิมที่คาดว่า + 3.8 % ขณะที่การบริโภคองภาครัฐให้มุมมองคงที่ไว้ +2.5 % 

“สิ่งที่น่าสังเกตของปีนี้คือ เพิ่งก้าวเข้าเดือนแรกของ ม.ค.ซึ่งปกติจะไม่ค่อยมีใครมีการรีวิวหรือลดเป้ากัน ที่ปกติจะมีการตั้งเป้าไว้สูงก่อนและค่อยมาเพิ่มหรือลดเป้าภายหลัง  แต่ตอนนี้ก็เริ่มเห็นนักวิเคราะห์หลายเจ้าพร้อมรอที่จะหั่นเป้าอย่างเห็นได้ชัด ตัวเลขการเติบโตของไทยยังคงเติบโตแต่เป็นไปในลักษณะที่จะชะลอลง”

รอดาวน์เกรด-เฉือนEPSเหตุไอพีโอ CRC จะเข้าเทรด 

“ณัฐชาต เมฆมาสิน” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ มอง 3 ปัจจัยหลักที่มีผลกับตลาดหุ้นช่วงนี้คือ ไวรัสโคโรน่า-ภัยแล้ง-พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2563 ที่ล่าช้ากว่าที่คาด และสิ่งที่ยังเป็นปัจจัยที่ยังรออยู่ข้างหน้ามีอยู่ 3  เรื่องหลักคือ 

  • ดาวน์เกรดตัวเลขเศรษฐกิจ ซึ่งนักวิเคราะห์แต่ละแห่งรอการปรับตัวเลขสำคัญ ตั้งแต่ GDP ปีนี้ซึ่งเดิมมองว่ามีการชะลอตัวอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้มีการรวมปัจจัยเรื่องไวรัสโคโรน่าเข้าไป ซึ่งจากเดิมมีการมองอยู่ที่ประมาณกว่า 2 % ปลายๆ ตอนนี้ตลาดน่าจะคาดการณ์ที่ 2-2.5 %
  • รอหั่นกำไรสุทธิต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ปีนี้ ซึ่งเดิมตลาดประเมินกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ที่ 110 บาท แต่เดือน ม.ค.ที่มีปัจัยลบเข้ามาหลายอย่างทำให้ EPS ลดลงมาถึง 3 บาท มาอยู่ที่ 98 บาท/หุ้น โดยอีกประเด็นสำคัญคือ การขายหุ้นไอพีโอของ เซ็นทรัล รีเทลบริษัท คอร์ปอเรชั่น (CRC) ที่มีจำนวนการเสนอในปริมาณที่มาก แต่ราคาหุ้นที่เสนอขายมีสูงกว่ามูลค่าพื้นฐาน และทำให้กำไร บจ.โดยรวมไม่สามารถโตได้ทันตามกำหนดจำนวนที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ EPS ปรับลงมาอีก 1-1.5 บาท/หุ้น 
  • ห่วงตัวเลขไตรมาส 1 แม้ผลประกอบการหรืองบของบจ.ไทยปี 2562 จะออกมาภายในสิ้นเดือนนี้ แต่เป็นที่รับรู้กันว่าจะออกมาไม่ดี แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ผลประกอบการไตรมาส 1 ของปีนี้ เพราะเชื่อว่าจะออกมาไม่ดีจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่เดือน ม.ค. และเดือน ก.พ. ก็ยังไม่คลี่คลายหลายปัจจัย 

หุ้นแบงก์โดนต่อเนื่องจากข่าว ธปท. จ่อคุมค่าธรรมเนียมเพิ่ม

มีข่าวความเคลื่อนไหวกันอย่างต่อเนื่องมาตลอด สำหรับกรณีที่แบงก์ชาติจะมีการออกกฏเกณฑ์เรื่องการปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมของธนาคารใน 200 ธุรกรรม ให้เสร็จภายไตรมาส 3 ทำให้กดดันหุ้นกลุ่มแบงก์วานนี้ (11 ก.พ.) ร่วงกันยกแผง

กลยุทธ์ขึ้นขายลงซื้อ ไม่เน้นไล่ตาม

บล.ทรีนีตี้ แนะนำกลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้ขึ้นขายลงซื้อ  เล่นตามกรอบไม่แนะนำให้ไล่เข้าไปซื้อ โดยกรอบล่างที่เป็นแนวตั้งรับคือ 1,450 จุด ส่วนหาก SET วิ่งเข้าแตะ 1,550 จุด ให้รีบขายทำกำไร โดยมี หุ้น 4 กลุ่มที่ยังพอลงทุนได้ 

  • กองทุนอสังหา /REIT / กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพราะให้อัตราการจ่ายปันผลที่สูงอีกทั้ง ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนเงินปันผลของกลุ่มนี้กับ Bond Yield มากขึ้น
  • หุ้นที่ไม่ผันผวนตามเศรษฐกิจที่มีการจ่ายปันผลสูงและผลการดำเนินงานที่แข็งแรง
  • หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล ที่แม้ราคาช่วงแรกถูกดดันจากไวรัสโคโรน่า แต่ก็ยังมีผลจากเรื่องอื่น เช่น ฝุ่น PM2.5
  • ที่ได้ประโยชน์จากค่าบาทอ่อน ที่เน้นไปกลุ่มอาหารมากกว่าที่มีการส่งออกมาก และราคาสัตว์บกดีขึ้น  กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพราะไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตต้นน้ำ ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากซัพพลายเชนที่ขาดหายไปจากประเด็นไวรัสโคโรน่าที่ส่วนใหญ่มีการผลิตจากประเทศจีน

ทบทวนเหตุการณ์เมื่อเดือน ม.ค. 2563

…ตอนนี้ความหวังอยู่ที่ไหน ตัวเราเองต้องปรับมุมมองและตั้งสติรับมือกับภาวะเช่นนี้อย่างสุดกำลัง…