นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นจากนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนต่อทิศทางการลงทุนและคาดการณ์ทิศทางดัชนีหุ้นไทยในปี 2563 จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 26 บริษัท แบ่งเป็น บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) 19 บริษัท บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 5 บริษัท บริษัทโกลด์ ฟิวเจอร์ส 2 บริษัท โดยผลการสำรวจมีดังนี้
ไตรมาส 1/2563
ผลสำรวจนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่หรือคิดเป็น 73.08 % มองว่าดัชนีหุ้นไทย (SET) ไตรมาส 1 ของปี 2563 นี้มีแนวโน้มไปในทิศทางบวก ขณะที่มีเพียง 15.38% มองว่าเคลื่อนไหวกรอบแคบ (Sideway) หรือไม่เปลี่ยนแปลงจากสิ้นปี 2562 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,579.84 จุด และอีก 11.54% มองว่าดัชนีหุ้นไทยจะเปลี่ยนแปลงในทิศทางลบ
ทั้งนี้ มีการประเมินว่าดัชนีจะปรับขึ้นสูงสุดช่วงไตรมาส 1 ที่ระดับ 1,641 จุด โดยกรอบดัชนีที่ตอบระดับสูงสุดอยู่ในช่วงระหว่าง 1,601- 1,650 จุด
ขณะที่ดัชนีจุดต่ำสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 1,537 ซึ่งอยู่ในกรอบที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินช่วงจุดต่ำกรอบ 1,501-1,550 จุด และที่น่าสังเกตคือมีผู้ตอบที่มองหุ้นไทยมีโอกาสหล่นไปที่ช่วง 1,401-1,450 จุด และ 1,451-1,500 จุด เฉลี่ยอย่างละ 5.88 %
ปัจจัยกระทบตลาดหุ้นปี 2563
*ปัจจัยบวก
(ตามตาราง) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่ายังไม่มีการพูดถึงการเคลื่อนไหวของเม็ดเงินต่างชาติ (Fund Flow) ต่อตลาดหุ้นไทยตอนนี้เพราะส่วนใหญ่นักวิเคราะห์ให้มุมมองเป็นลบมากกว่า
*ปัจจัยลบ
(ตามตาราง) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลบวกที่มาจากต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศ หรือการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขณะที่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศเป็นปัจจัยลบอันดับสุดท้ายที่นักวิเคราะห์ให้น้ำหนักน้อยสุด และจากข้อถามถึงนโยบายอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปีนี้ส่วนใหญ่ก็ให้น้ำหนักว่าจะมีการปรับลดลง 0.25 % เป็นหลัก
แนะรัฐควรเร่งนโยบายเรื่องที่เป็นบวกต่อเศรษฐกิจ
- ควรมีการกระตุ้นการลงทุน 27.27%
- ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 22.73%
- กระตุ้นการบริโภคใช้จ่าย 18.18%
- นโยบายการเงินสกัดการแข็งค่าของเงินบาท 13.64%
- สนับสนุนการส่งออก 9.09%
- การท่องเที่ยว 4.55%
- ยุบสภา 4.55%
เป้า 2563
มองดัชนีสิ้นปีนี้ที่ 1,679 จุด และพร้อมคาดการณ์ว่ากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) เฉลี่ยของตลาดปีนี้อยู่ที่ 100.71 บาท หรือสูงขึ้นจากปีที่แล้วคาดว่าอยู่ที่ 93 บาทต่อหุ้น ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตของ EPS ที่ 7.79% สวนทางกับการคาดการณ์ GDP และเงินเฟ้อของนักวิเคราะห์ที่เพิ่งออกมาในช่วงต้นปีที่อยู่ระดับกว่า 2 % หรือหากเทียบกับดัชนีสิ้นปีก่อนกับเป้าปีนี้ แสดงว่า SET มีโอกาสเพิ่มขึ้นได้อีก 100 จุด
5 หุ้นที่นักวิเคราะห์เทคะแนน
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย (AOT) เพราะมีปัจจัยจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไทยและอาคารเทียบเครื่องบินรองที่จะแล้วเสร็จในปีนี้ จะทำให้ท่าอากาศยานไทยสามารถรองรับผู้โดยสายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่ประเด็นการเรียกเก็บส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมผู้โดยสารขาออก 10 % ไม่น่ากังวล
- ธนาคารกรุงเทพ (BBL) จากการลงทุนในธนาคาร Permata ของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าไทย และมีราคาที่ต่ำกว่า Book Value ที่ 0.7 เท่า และมีอัตราการจ่ายปันผลที่สูง
- บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) มีปัจจัยหนุนจากราคาเนื้อหมูที่สูงขึ้นในจีนและเวียดนาม และที่เน้นากรส่งอาหารดิลิเวอรี่มากขึ้นทำให้คุมคต้นทุนโลจิสติกส์ได้
- บริษัท ปตท. (PTT) และ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) มีปัจจัยหนุนจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและอิหร่าน พร้อมกับมองว่าราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นส่งผลดีต่อหุ้นพลังงาน แต่ไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งทั้ง PTT-PTTEP ต่างก็แผนขยายการลงทุนต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีการจ่ายปันผลที่สูง
อย่างไรก็ดี ผลการสำรวจครั้งนี้ได้มีการอัพเดทสถานการณ์ตะวันออกกลางที่สหรัฐยิงโดรนจนผู้นำอิหร่านเสียชีวิตไปแล้วเพียงบางส่วน เนื่องจากมีการส่งผลตอบรับวันเดียวกับที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น
You must be logged in to post a comment.