HomeUncategorizedMomentum-Growth-Value หลักเลือกหุ้นที่มีโอกาสชนะตลาดในระยะยาว

Momentum-Growth-Value หลักเลือกหุ้นที่มีโอกาสชนะตลาดในระยะยาว

“มนสิช” ย้อนเล่าให้ฟังว่าตัวเขาเริ่มต้นลงทุนเหมือนคนทั่วไป ที่มีเก็บจากการขายของเพื่อเริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้นด้วยเงินลงทุนเพียงหลักหมื่นหลังจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไม่ได้จบสาขาเศรษฐศาสตร์การเงินมา ไม่ได้มีพลังงานติดตามข่าวสารในตลาดหุ้นอยู่ตลอดเวลา รวมถึงไม่มี Inside Connection และ Inside Information แต่โชคดีที่แม้ขาดสิ่งเหล่านี้ แต่สามารถอยู่รอดในตลาดมาได้ ไม่เคยล้างพอร์ตมาตั้งแต่ปี 2003 และหาเงินและอยู่ได้จากตลาดหุ้นด้วยเม็ดเงินการลงทุน และมีความสุขในการลงทุนมากกว่าหลายคนเพราะไม่คอยดูปัจจัยดูหุ้นขึ้นลง เพราะมองว่าการอ่านข่าวจากสื่อต่างๆ สำหรับเขาคือ Noise มากกว่า สิ่งที่เป็นอย่างนี้ได้เพราะค้นพบกับคำว่า “การลงทุนแบบเป็นระบบ” (Quantitative Investing / Quantitative Trading)

3 กลยุทธ์ที่ทดลองแล้วนำมาแบ่งปัน

  • กลยุทธ์ซื้อหุ้นตามฝรั่ง ทดสอบแล้วทำออกมาเป็นระบบ ตั้งแต่ปี 2012 เป็นการซื้อตอนที่หุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้น ซึ่งผลวิจัยออกมาว่า เมื่อไรที่หุ้นเป็นขาขึ้น Break Out 20 วัน Break Down 20 วัน ถ้ากวาดเข้าซื้อหุ้นในตลาดไป 20 ตัว แล้วปล่อยไปเรื่อย จน SET เป็นขาลง แล้วค่อยขายทิ้งไป ก็สามารถมีกำไรในตลาดได้แล้ว
  • ระบบฟันด์โฟลว์ที่วิเคราะห์ยอดซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ ที่เมื่อไรที่ยอดซื้อหุ้นต่างชาติสะสมภายใน 20 วันเป็นบวกก็ซื้อ และเมื่อไรที่ยอดขายภายใน 20 วันเป็นลบก็ขายก็ขาย
  • ระบบกลยุทธ์แมงเม่า All Time High ซื้อหุ้นเมื่อหุ้นไปอยู่ที่จุดนับประวัติศาสตร์ ทุกวันนี้กลยุทธ์ก็ยังทำกำไรเหนือตลาดได้อยู่ ถ้ามาเทียบในเวลาเดียวกัน

นั่นคือ พยายามจะหว่านล้อมทุกคนให้รู้สึกว่า ยังมีช่องทางและโอกาสในการลงทุนสำหรับหลายๆ คนที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้มีข้อมูลเชิงลึก หรือข่าวสารในตลาดเยอะ เพราะความจริงมันยังมีกลยุทธ์การลงทุนที่อาจจะไม่ได้อาศัยข้อมูลที่เยอะ แต่ต้องอาศัยข้อมูลและการทำความเข้าใจอย่างเป็นระบบ หรือในเชิงสถิติ ก็จะสามารถอยู่ในตลาดได้ในระยะยาว

กลยุทธ์ที่ดีแล้วไม่ต้องกลัวว่าวิกฤตจะมาเมื่อไร

โดยส่วนตัวเขาไม่ได้เชื่อว่าเรื่องการมองวิกฤตจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือถ้าเกิดวิกฤตขึ้นมาแล้วจะต้องเปลี่ยนไปลงทุนในกลยุทธ์แบบนี้ หรือเปลี่ยนกลยุทธ์ตามตลาด เพราะเขาเชื่อในแนวทางการลงทุนที่ได้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนในตลาด นั่นคือ “การมีกลยุทธ์ที่ดีแล้วเข้มงวดไปกับมันอย่างยาวนานเพียงพอ” โดยในระยะยาวแล้วจะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการกระโดดไปกระโดดมา หรือเปลี่ยนหุ้นไปมาตามสภาวะต่างๆ

อย่าง วอร์เรน บัฟเฟต์ เองไม่เคยไปทำนายว่าวิกฤตจะเกิดเมื่อไร เพราะมองว่ามันไม่ได้สำคัญ และที่ผ่านมาก็เคยมีผลงานวิจัยออกมาที่พบว่า การคาดการณ์ของนักวิเคราะห์หรือผู้จัดการกองทุน เฉลี่ย 50 %  ที่เป็นไปตามคาดการณ์ แต่ความจริง ผิดถูกไม่มีใครรู้ สิ่งสำคัญกว่า คือ การที่คุณต้องมีกลยุทธ์ที่ดีพอที่ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตต่างๆ ขึ้นมาแล้ว จะสามารถนำพาให้คุณอยู่ไปจนตลอดรอดฝั่งได้หรือเปล่า ซึ่งการลงทุนที่ดีคุณต้องยึดกลยุทธ์ให้มั่นใน ไม่ว่าตลาดจะดีหรือไม่ดี มันจะค่อยๆ นำพาเราไปจุดนั้นเอง

The 10X Principle

คือ แนวคิดพยายามทำวิจัยจากคนที่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนแล้วเขาประสบความสำเร็จอย่างไรบ้างในตลาดต่างๆ ทั่วโลก จนได้ผลวิจัยที่ได้การลงทุนแบบผสมผสาน ซึ่งทุกวันนี้ “มนสิช”ก็ยังใช้อยู่ และเชื่อว่าจะสามารถทำให้อยู่ในภาวะตลาดระยะยาวได้ โดยเงื่อนไขในการวิจัย มีตั้งแต่ดูนักลงทุนแนวทางไหนบ้างที่สำเร็จอย่างยั่งยืน มีผลการวิจัยที่รองรับเพราะถ้าไม่มีจะไม่สามารถหาเหตุผลของการลงทุนได้ เมื่อนำลองมาประยุกต์และทดสอบในตลาดหุ้น ก็ควรได้ผลลัพธ์ที่ดี และสามารถผ่านมาได้ตั้งแต่สมัยวิกฤตต้มยำกุ้ง 1997  

จากตารางดังกล่าว เส้นบนเป็นผลการจำลองแบบ Back Test ซึ่งปกติผลการจำลองสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามผลทดสอบของงานจำลองของเราว่ามีความเข้มงวดมากแค่ไหน เส้นบนสีเขียวเป็นผลของการทดสอบเชิงทฤษฎี ถ้าไม่มีเรื่องค่าคอมมิชชัน พบว่า ตั้งแต่ ปี 1997-2018 หรือตั้งแต่มีวิกฤตต้มยำกุ้ง มีผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นอยู่ถึง 48 % ต่อปี ซึ่งสูงมากและดูเว่อร์ไป แต่หากดูผลเชิงอุตสาหกรรมโดยใส่ปัจจัยแล้ว จะอยู่ที่ 41 % ต่อปี  

อย่างไรก็ดี ไม่ได้อยากให้ยึดผลจากการทำวิจัยพวกนี้ทั้งหมด เพราะความจริงยังมีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากกมาย และถ้ายิ่งพอร์ตโต กลยุทธ์ก็จะยิ่งโตได้ยาก อาจทำให้ขายไม่ได้บ้าง เพราะมีเรื่องของสภาพคล่องเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงอยากขอให้ดุผลของของ 2 อันล่าง คือ Fund After-Fee กับ Crisis ที่ลองมาทำเป็นกองทุนโดยคิดค่าบริหารจัดการ 2 % และส่วนแบ่งกำไร 20 %

ผลที่ออกมา Fund After Fee และคำนึงถึง Portfolio Size ผลทดสอบตั้งแต่ปี 1997 ด้วยเงินเริ่มที่ 10 ล้านบาท โตขึ้นเรื่อยจนซื้อขายไม่ได้ สุดท้ายก็มามาจบที่ 26 % แบบ Fund After Fee แต่ Crisis ผลที่ได้ซื้อครั้งหนึ่งเหมือนขาดทุนไปแล้ว  5 % แต่โดยรวมก็ยังอยู่รอดได้

สรุป ในเชิงทฤษฎีไม่ว่าอยู่ในขั้นไหนจริงๆ ผลตอบแทนปี 1997-2018 ยังเหนือ SET Index หรือผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 3 % ต่อปี อย่างไรก็ตาม ถ้าปฏิบัติตามหลักนี้ได้คุณก็ยังมีโอกาสการลงทุนในตลาดระยะยาวได้

หากมาดูผลการทดลองจริง ที่เป็นของกองทุนส่วนบุคคล 100 ล้านบาท ขึ้นมา โดยใช้กลยุทธ์นี้ ผลลัพธ์ เริ่มรันมาตั้งแต่ต้นปี 2562 แม้ว่าปีนี้หุ้นจะเล่นยากสำหรับนักลงทุนหลายคน ที่เห็นตลาดขึ้นเพราะหุ้นตัวใหญ่ หุ้น mai ค่อนไม่ไหวหมด ซึ่งผลลัพธ์ถึงสิ้นเดือน ต.ค. ยังมีกำไร โดยสามารถ Break Down ความเชื่อได้ว่าการลงทุนแบบระบบกับ Active Investment การเติบโตของเส้นเงินทุนอาจจะไม่ได้เติบโตตาม SET ตลอด เพราะเป็น Active Management ไม่ได้ซื้อแล้วถือเต็มพอร์ตยาวเหมือนกองทุนทั่วไป ดังนั้นจังหวะการขึ้นลงอาจไม่ตรงกับ SET เท่าไร แต่มันจะเวิร์กถ้าทำในสเกลที่ใหญ่

หลักการของ 10X Principle

ความจริงหลักการในการลงทุนมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องเต็มไปหมด แต่สิ่งที่แนะนำคือ “Entry” การเลือกหุ้นที่จะมีโอกาสชนะตลาดในระยะยาว ซึ่งกลยุทธ์ที่ค้นแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพมากๆ คือ กลยุทธ์ตามแนวโน้มของราคาหุ้น Momentum (Trend Following)  มันสามารถผนวกเข้ากับกลยุทธ์การหาหุ้นที่มันเติบโตดีๆ ที่มีราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่า (Growth at Reasonable)  เพราะจังหวะการทำกำไรมันจะมาพร้อมๆ กัน และก็ส่งเสริมกัน

“หลักการคือการลงทุนในหุ้นเติบโต ณ ราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าในช่วงเวลาที่แนวโน้มราคาหุ้นเป็นขาขึ้นที่แข็งแกร่ง”

หนึ่ง “Momentum” หุ้นที่แนวโน้มแข็งแกร่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดหุ้นขาขึ้น จึงช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะขาดทุนที่รุนแรงออกไป “Growth” คือการเลือกหุ้นที่อาจจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติขึ้นมา และถ้าเราสามารถเลือกหุ้นที่ “Under Value” ไปในขณะเดียวกันได้ก็ถือว่าจะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตได้

Momentum

คือ ต้องมองหาหุ้นที่มีแนวโน้มใหญ่ที่สุด หลักการถ้ากลัว “ต้องเริ่มมองหาหุ้นที่แนวโน้มใหญ่หรือขาขึ้นก่อน” คุณจะรอดจากวิกฤตประมาณ 70-80  %  จากตารางข้างล่างสีเขียวมีหุ้นที่หุ้นขึ้นลงผสมผสานกัน แต่ถ้ามองเส้นคาดสีแดงที่ลงมา คือตลาดที่จะเริ่มย่อตัวลงแรงๆ หนักๆ นั่นแปลว่า จำนวนหุ้นที่เป็นขาขึ้นจะลดลงหมด

ทั้งนี้ ถ้ามองหาหุ้นขาขึ้นเป็นหลักก่อน คุณอาจจะไม่มีหุ้นในวิกฤตเลย แปลว่า ถือเงินสดในช่วงวิกฤต ซึ่งจริงๆ เท่ากับคุณอาจชนะตลาดไปแล้ว ในทางกลับกันถ้าหุ้นจะเป็นจังหวะที่ขาขึ้นใหม่จะเริ่มเห็นจำนวนหุ้นที่เริ่มเยอะขึ้นมา เพราะ SET ต้องอาศัยหุ้นต่างๆ เพื่อพยุง SET ขึ้นมาโดยเฉพาะหุ้นตัวใหญ่ ไม่เหมือนคนที่ติดอยที่หุ้นเป็นขาลงแล้วก็ยังไม่ทิ้งหุ้นไป

หลายคนอาจตามหาหุ้นที่มีโอกาสเป็นผู้ชนะ Super Stock ซึ่งจริงๆ คาแรกเตอร์ของหุ้นประเภทนี้ คือ “Super Stock ทุกตัวต้องทำ New High และเกาะขอบบนแนวต้านประมาณ 1 ปี” เพียงหลักการเท่านี้ก็สามารถสกรีนหุ้นออกไปได้เยอะมาก จะเป็น Super Stock ไม่ได้ถ้าหุ้นไม่วิ่งขึ้นไปจุดสูงสุด โดยจุดสังเกตของหุ้นที่จะวิ่งไปเยอะๆ มันจะวิ่งมาคลอเคลียกับจุดสูงสุดเดิม พวกนี้จะเกาะขอบบนแนวต้านที่ทุกคนกลัวกัน แต่นักลงทุนอาจจะพอใจที่จะเห็นราคาหุ้นเกาะขอบล่างอยู่ในแนวรับ และส่วนใหญ่ถ้าไปดูพื้นฐานของกิจการด้วยมันจะมีความเกี่ยวข้องกันอยู่ ถ้ากิจการดีมันจะมาเกาะขอบบนแล้วรอที่จะไปต่อ กล้าที่จะ Bit สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งหลักการในการซื้อหุ้นอีกอย่างคือ ให้ซื้อแนวโน้ม อย่าซื้อราคาหุ้น

Growth

เพราะราคาหุ้นมักจะไปกับการเติบโตของกิจการ ให้ดูราคาก่อนว่าราคาไปเกาะของบน มีโอกาสว่างบหรือผลประกอบการหุ้นนั้นยังมีโอกาสที่จะเติบโตไปได้ดีต่อ ยิ่งคุณมี Growth มากเท่าไร Fair Value ก็จะยิ่งมีโอกาสมีมูลค่ามากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นแบบเดียวกับที่บางครั้งเห็นหุ้นที่มีราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) สูงแล้วแต่ราคาหุ้นยังไปได้ต่อ และพอไปประเมินมูลค่ากลับมา (DCF) แล้ว เมื่อดูราคาใหม่แล้วราคายังแพงกว่าเดิมก็เลยกล้าที่จะไล่ซื้อ ฉะนั้น หุ้นที่มีการเติบโต อาจจะมีการถูกปรับจากความคาดการณ์ของพวกกองทุนต่างๆ ก็จะเป็นโอกาสที่ทำให้ราคาหุ้นปรับขึ้นต่อไปได้

งานวิจัย PEAD Phenomenal เป็นปรากฎการณ์ที่ค้นพบว่า หุ้นที่แบ่งเป็น 10 กลุ่มที่มี Growth การเติบโตที่ดีสุด ในตารางข้างล่าง เส้นแนวกลางคือวันประกาศงบ เส้นแนวนอนเยอะคือเส้นราคาหุ้นที่มีการเติบโตดี ซึ่งงบการเงินที่ถูกประกาศออกมาแล้ว โดยเฉลี่ยพบว่าราคายังมีโอกาสวิ่งขึ้นต่อไปได้ จากเดิมที่อาจมองว่าพอประกาศงบเสร็จก็เลิกเล่นได้เพราะราคาหุ้นจะปรับฐานลงแล้ว แต่ไม่ว่าจะในตลาดหุ้นที่ประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉลี่ยกรุ๊ปหุ้นที่มี Growth ราคาหุ้นก็มีโอกาสวิ่งไปได้ ส่วนกลุ่มข้างล่างเมื่อประกาศงบก็มีโอกาสวิ่งลงได้


“หุ้นที่ประกาศงบออกมาแล้วดีโดยเฉลี่ยราคาหุ้นมีโอกาสไปต่อได้ นั่นแสดงว่า ถ้าหากมีการสังเกตการ GROWTH ของกิจการที่ดี ก็จะมีโอกาสจับหุ้นที่มี SUPER STOCK ได้”

Value

มักเทียบจาก P/E โดยถ้า P/E ยิ่งต่ำโอกาสที่จะให้อัตราเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้น (CAGR) ก็ยิ่งสูง ทางกลับกลับถ้า P/E ยิ่งสูง CAGR ก็ยิ่งต่ำ

“ถ้าเลือกหุ้นที่เป็นแนวโน้มขาขึ้นใหญ่ มี Growth และ Under Value  ได้ ยังมีโอกาสที่ขาดทุนอยู่ แต่จะไม่ได้เยอะ และมีโอกาสที่จะได้ Upside Gain ที่ค่อนข้างสูงมากๆ เพราะถ้าเชื่อในหลักการ 3 อย่างนี้จะช่วยทำให้มีกำไรและสร้างพอร์ตให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้”

จากตัวอย่างกราฟข้างบน ข้างล่างคือ SET Index ปี 2003 ข้างบนคือราคาหุ้น ประกาศงบหุ้นที่มี Growth ราคาหุ้นก็ยัง Under Value แล้วตลาดก็เป็นขาขึ้นพอดี จะเป็นตัวช่วยในการผลักดันและวิ่งขึ้น และเมื่อพอมีการเปลี่ยนแนวโน้มใหญ่ เราก็แค่ออกจากราคาหุ้นนั้นไป ซึ่งอยากให้สังเกตหุ้นที่เป็นผู้นำมักจะมี Performance ที่ดีกว่าตลาด แม้ขณะที่ SET จะมีลักษณะที่เคลื่อนไหวออกข้าง Sideway อยู่ หุ้นพวกนี้ก็จะส่งสัญญาณก่อนถ้าเลิกมีความเป็นแนวโน้มใหญ่ ทางกลับกันเมื่อหุ้นขาลงก็เช่นกัน ถ้าหมดช่วงประกาศงบแล้วกิจการไม่ดี P/E ไม่ได้แพงมาก ก็มีโอกาสที่ราคาหุ้นก็จะลงได้อีก

“กลยุทธ์ของการลงทุนตามระบบเป็นกลยุทธ์ที่มีความเสถียรยั่งยืน ซึ่งตั้งแต่เริ่มลงทุนมาสิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือ พอเราได้รู้ว่าโอกาสที่จะเกิดผลการคาดหวังสูงแค่ไหน คาแรกเตอร์ของการลงทุนเป็นอย่างไร เวลาที่ตลาดลงหรือขึ้นหรือไซต์เวย์ เราจะคาดหวังกับเพอร์ฟอร์แมนซ์ได้เท่าไร เปอร์เซ็นต์ที่จะชนะหรือขาดทุนจากราคาประมาณเท่าไร ค่าเฉลี่ยผลกำไรของเป็นอย่างไรบ้าง จะทำให้รู้ว่า เรื่องจิตวิทยาการลงทุนเราไม่ต้องไปเครียดกับมันเลย เราแค่ตรวจสอบว่า กลยุทธ์ที่เราใช้ยังประพฤติอย่างที่มันเคยเป็นหรือไม่ หรือควรจะเป็นตามผลลัพธ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตและเมื่อเกิดสัญญาณเราก็แค่จัดการตามการลงทุนไป ทำความเข้าใจกลยุทธ์ของตัวเองให้ลึกซึ้ง”

ความจริงคือ รู้ตลาดก็ไม่เท่ารู้ตัวเอง และรู้กลยุทธ์ของตัวเอง ซึ่งเมื่อเราเข้าใจแล้วทุกอย่างแล้ว เราก็จะควบคุมมันได้