อาจจะไม่ได้เหนือความคาดหมายสำหรับผลประกอบการไตรมาส 3 และงวด 9 เดือนของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) ตามที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์และผลสืบเนื่องจากสงครามการค้า (Trade War) ที่ยังต่อเนื่องมา
ผลกระทบTradeWar-ขาลงวงจรปิโตรเคมี-ค่าเงินแข็งค่า
“รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส3 ยอดขาย อยู่ที่ 1.1 แสนล้านบาท ลดลง 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากดูงวด 9 เดือน มียอดขายอยู่ที่ 3.31 แสนล้านบาท ลดลง 8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 6,204 ล้านบาท ลดลง 35 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง 12% จากไตรมาส 2 ที่ผ่านมา หากดูงวด 9 เดือน มีกำไรสุทธิ 24,910 ล้านบาท ลดลง 27% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ ไตรมาส 2 บริษัทมีรายการพิเศษคือ ปรับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน 2,035 ล้านบาท ไตรมาส 3 มีการปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ทางบัญชี 762 ล้านบาท และการกลับรายการสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีอีกจำนวน 1,063 ล้านบาท ซึ่งซีอีโอมองว่า ไตรมาส 4 นี้ไม่น่าจะมีรายการพิเศษอื่นเหมือน 2 ไตรมาสที่ผ่านมาแล้ว
“สาเหตุที่ผลประอบการลดลงมาจาก 3 ปัจจัยหลักคือ เศรษฐกิจมีการชะลอตัวเนื่องมาจากผลของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน วัฎจักรขาลงของธุรกิจปิโตรเคมีที่ทำให้ส่วนต่างของราคาวัตถุดิบกับราคาสินค้าปรับลดลง (สเปรด) ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะสามารถระบุช่วงเวลาสิ้นสุดช่วงขาลงได้ เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างเดียว แต่เป็นเพราะความต้องการ (ดีมาด์) โลกหายไปด้วย กูรูหลายคนก็ยากที่จะประเมิน เพราะมีผลกระทบทั้งจากประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจ อีกทั้งค่าเงินบาทก็มีการแข็งค่า”
ไตรมาส4 ภาพรวมเศรษฐกิจมองยาก เน้นทางแก้รายอุตสาหกรรม
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บอกว่า การประเมินภาพใหญ่ของเศรษฐกิจไตรมาส 4 ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากจะให้มองภาพรวมเป็นรายอุตสาหกรรมยังพอได้
ธุรกิจปิโตรเคมี
คาดว่าจะยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากเหตุน้ำท่วม ทำให้การก่อสร้างชะลอตัวตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 ที่ตลาดซีเมนต์ในประเทศหดตัวราว 1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ฉุดให้ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ตลาดซีเมนต์เติบโตได้ราว 2% เท่านั้น ทำให้คาดว่าทั้งปีนี้ความต้องการใช้ซีเมนต์ในประเทศน่าจะเติบโตได้เพียง 1-2% ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่เคยคาดว่าจะเติบโตได้ราว 3-4% ในปีนี้ ขณะที่ยังได้ปัจจัยบวกจากโครงการลงทุนต่าง ๆ ของภาครัฐที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง หากมอง ตลาดซีเมนต์ในอาเซียนนั้น ตลาดยังเติบโตมาก โดยเฉพาะในกัมพูชาและเวียดนาม ขณะที่เมียนมาและ สปป.ลาว ก็นับว่ายังมีการเติบโตอยู่ โดยกลยุทธ์สำหรับธุรกิจนี้จะยังมุ่งเน้นการรุกธุรกิจค้าปลีก และจัดจำหน่ายให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงนวัตกรรมสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้ในทุกช่องทางและหลากหลายโซลูชั่น
Trade War และสถานการณ์ทางตะวันออกกลางยังจะมีผลให้มาร์จิ้นยังมีแนวโน้มอ่อนตัวลงจากไตรมาส 3 ที่ส่วนต่าง (สเปรด) ราคาผลิตภัณฑ์ HDPE และแนฟทา ซึ่งเป็นวัตถุดิบช่วง 9 เดือนอยู่ที่ 457 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 680 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ขณะที่ความต้องการใช้ยังมีการเติบโตในระดับต่ำ ทางแก้ไข คือ เน้นการนำงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการ (R&D) เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่า (HVA) โดยเฉพาะการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนที่อายุของสินค้าสามารถใช้งานได้นานขึ้น ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลก
ธุรกิจซีเมนต์
คาดว่าจะยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากเหตุน้ำท่วม ทำให้การก่อสร้างชะลอตัวตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 ที่ตลาดซีเมนต์ในประเทศหดตัวราว 1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ฉุดให้ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ตลาดซีเมนต์เติบโตได้ราว 2% เท่านั้น ทำให้คาดว่าทั้งปีนี้ความต้องการใช้ซีเมนต์ในประเทศน่าจะเติบโตได้เพียง 1-2% ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่เคยคาดว่าจะเติบโตได้ราว 3-4% ในปีนี้ ขณะที่ยังได้ปัจจัยบวกจากโครงการลงทุนต่าง ๆ ของภาครัฐที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง หากมอง ตลาดซีเมนต์ในอาเซียนนั้น ตลาดยังเติบโตมาก โดยเฉพาะในกัมพูชาและเวียดนาม ขณะที่เมียนมาและ สปป.ลาว ก็นับว่ายังมีการเติบโตอยู่ โดยกลยุทธ์สำหรับธุรกิจนี้จะยังมุ่งเน้นการรุกธุรกิจค้าปลีก และจัดจำหน่ายให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงนวัตกรรมสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้ในทุกช่องทางและหลากหลายโซลูชั่น
ธุรกิจแพ็คเกจจิ้ง
ที่วันนี้มาอัพเดทสุดเพราะคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) เพิ่งอนุมัติให้ บริษัท เอสซีจี แพจเกจจิ้ง (SCGP) ระดมทุนเพื่อเสนอขายหุ้นสามัญให้ประชาชนเป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) และจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ (SET) ต่อไป เพราะที่ผ่านมามีการเติบโตต่อเนื่องมาตลอดช่วง 4-5 ปีนี้ ซึ่ง SCC จะเป็นผู้ถือหุ้นยังคงถือหุ้นในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 70% จากปัจจุบันถือราว 99% อย่างไรก็ตามการนำหุ้น SCGP เข้าตลาดยังไม่สามารถระบุช่วงเวลาได้ แต่จะต้องพิจารณาสภาพภาวะตลาดหุ้นควบคู่กันไปด้วย
แพ็คเกจจิ้งจะเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในอนาคตอีกมาก
ที่วันนี้มาอัพเดทสุดเพราะคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) เพิ่งอนุมัติให้ บริษัท เอสซีจี แพจเกจจิ้ง (SCGP) ระดมทุนเพื่อเสนอขายหุ้นสามัญให้ประชาชนเป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) และจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ (SET) ต่อไป เพราะที่ผ่านมามีการเติบโตต่อเนื่องมาตลอดช่วง 4-5 ปีนี้ ซึ่ง SCC จะเป็นผู้ถือหุ้นยังคงถือหุ้นในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 70% จากปัจจุบันถือราว 99% อย่างไรก็ตามการนำหุ้น SCGP เข้าตลาดยังไม่สามารถระบุช่วงเวลาได้ แต่จะต้องพิจารณาสภาพภาวะตลาดหุ้นควบคู่กันไปด้วย
ความจริงทางบริษัทมีการหารือและปรับแผนกับมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว ดังนั้น การจะนำธุรกิจแพ็คเกจจิ้งเข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่ใช่แผนใหม่ เพียงแต่ผลสรุปจากการที่ศึกษาได้ผลออกมาว่า ควรมีการระดมทุนเนื่องจากตลอด 4-5 ปีทีที่ผ่านมามีการเติบโตอย่างต่อเนื่องหรือเติบโตประมาณ 40-50% หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 10-20% และตลอดเวลาที่ผ่านมาบริษัทก็มีการซื้อกิจการธุรกิจนี้มาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันต้องถือว่าเป็นผู้นำอันดับต้นของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเหตุผลที่ระดมทุนครั้งนี้ก็เป็นไปเพื่อขยายการลงทุนเป็นหลัก
“ตอนนี้ถือว่าเราประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไม่ง่าย สิ่งที่เราจะต้องทำคือการบริหารจัดการตัวเองให้ดี รวมถึงการปรับกลยุทธ์และแผนการลงทุนให้ดีและรอบคอบ ซึ่งต้องถือว่าธุรกิจแพ็คเกจจิ้งมีศักยภาพและยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากโดยตัวลักษณะธุรกิจเองก็มีความเกี่ยวข้องไปกับโมเดลธุรกิจใหม่ เช่น กลุ่มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งหากเทียบกับธุรกิจปิโตรเคมีต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยสถานการณ์โลกเป็นหลัก ขณะที่ธุรกิจซีเมนต์ต้องอยู่กับกำลังซื้อในประเทศและการเติบโตของประเทศเพื่อนนบ้าน”
สัดส่วนยอดขายและกำไรสุทธิแต่ละธุรกิจของ SCC
ธุรกิจ | สัดส่วนยอดขายปัจจุบัน (%) | สัดส่วนกำรไรสุทธิปัจจุบัน (%) |
ปิโตรเคมี | 41% | 53% |
แพ็คเกจจิ้ง | 20% | 17% |
ซีเมนต์ | 39% | 19% |
ลงทุนอื่นๆ | – | 11% |
ทั้งนี้ ปัจจุบัน SCC มีอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) 0.9 เท่า และอัตราหนี้สินต่อทุนสุทธิที่ (Net Debt to Equity) 0.6 เท่า
GSP เรียกว่าแทบจะไม่กระทบ
การที่สหรัฐตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) แก่สินค้าบางรายการของต้องถือว่า SCC ได้รับผลกระทบน้อยมาก เนื่องจากส่งสินค้าไปขายที่สหรัฐน้อยกว่า 5% ของการส่งออกเท่านั้น อีกทั้งสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ที่ส่งออกไปก็ไม่ได้อยู่ในรายชื่อของสินค้า GSP ขณะที่ซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างก็ส่งออกไปไม่มาก ส่วนแพ็กเกจจิ้งอาจจะได้รับผลกระทบบ้าง เพราะสินค้าทุกอย่างที่ส่งไปสหรัฐจะมีส่วนของแพ็กเกจจิ้งของลูกค้าประกอบด้วย ทำให้ได้รับผลกระทบทางอ้อมหรือเรียกว่าแทบจะไม่ได้รับผลกระทบเลย
You must be logged in to post a comment.