HomeOn Radarsสัปดาห์หน้า Sideway รอผลประชุมเฟด

สัปดาห์หน้า Sideway รอผลประชุมเฟด

“ณัฐชาต เมฆมาสิน” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ทรีนีตี้เปิดเผยกับ StockRadars ว่า ตลอดทั้งวันของวันที่ 19 ก.ค. หุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนบวกตั้งแต่เปิดตลาดเช้าถึงจนมาปิดที่ระดับ 1,735 จุด เพิ่มขึ้น 11.66 จุด หรือ 0.68% มีมูลค่าซื้อขาย 61,925 ล้านบาท

  • การเคลื่อนไหวดัชนีในสัปดาห์หน้า SET จะมีการเคลื่อนไหวในกรอบแคบ หรือ Sideway เนื่องจากนักลงทุนทั่วโลกส่วนใหญ่จะรอการประชุมเฟดในช่วงปลายเดือน ก.ค. ว่าผลจะออกมาอย่างไร ให้แนวรับไว้ที่ 1,715 จุด ขณะที่แนวกรอบแนวต้านยังเป็นกรอบเดิมที่ 1,750-1,760 จุด
  •  ปัจจัยต่างประเทศที่ควรติดตาม คือ มีการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งต้องรอดูว่ามีการซื้อสินทรัพย์หรือการทำคิวอีเพิ่มอีกหรือไม่ และฟังแนวโน้มนโยบายที่จะเกิดขึ้น
  •  ปัจจัยในต่างประเทศที่ควรติดตาม คือ การแถลงตัวเลขส่งออกภายในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คาดว่าจะจะออกมาติดลบไม่แตกต่างจากที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นผลงานสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน พร้อมกับต้องรอดูการแถลงนโยบายของคณะรัฐบาลในวันที่ 25 ก.ค. นี้ ซึ่งเบื้องต้นก็ต้องติดตามนโยบายเศรษบฐกิจเป็นหลัก
  • กลยุทธ์การลงทุน ช่วงจังหวะที่รอผลประชุมเฟดควรรอดูสถานการณ์ก่อน (Wait&See) เป็นหลัดกถ้าดัชนีขึ้นใกล้แนวต้านที่ให้ไว้ก็ควรทยอยขายทำกำไรออกมา ก่อนที่จะทยอยไปรับซื้อหุ้นในกลุ่มที่คงเกี่ยวกับการบริโภคภายในประเทศ เช่น หุ้นกลุ่มค้าปลีก กลุ่มเช่าซื้อที่มองว่าผลประกอบการไตรมาส 2 น่าจะออกมาดี
  • ขณะที่สัปดาห์ยังมีหุ้นขนาดใหญ่ที่เริ่มทยอยประกาศผลประกอบการออกมา หลังจากที่ธนาคารพาณิชย์ 9 แห่งได้ทยอยประกาศผลประกอบการออกมาหมดแล้ว เหลือเพียงแต่ธนาคารทหารไทย (TMB) บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) และ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (SCC)
  • ตรงข้ามกับ “กรภัทร วรเชษฐ์” ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน มองว่าสัปดาห์หน้าคงจะมีการเล่นเก็งกำไรตามความคาดหวังนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของเฟด ซึ่งเฟดจะมีการประชุมในวันที่ 30-31 ก.ค.นี้ โดยปกติก็มักจะมีการเล่นเก็งกำไรกันก่อน 2 สัปดาห์ก่อนการประชุม โดยให้วันที่ 24 ก.ค.นี้ก็ให้ติดตามตัวเลข PMI ภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ และยุโรป อีกทั้งติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 25 ก.ค.นี้ด้วย ส่วนติดตามนโยบายของภาครัฐฯ จากความคาดหวังในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • แนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์หน้า นายกรภัทร กล่าวว่า ตลาดฯคงจะปรับตัวขึ้น โดยมีแนวรับ 1,720 จุด ส่วนแนวต้าน 1,750-1,767 จุด
  • รายละเอียดเพิ่มเติมประกาศของ ฟิทช์ เรตติ้งส์ ประกาศปรับแนวโน้มของระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท (IDR) ของประเทศไทยจากระดับมีเสถียรภาพ (Stable ) เป็นระดับบวก (Positive) ที่ BBB+  สะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจไทยที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางความเสี่ยงทางการเมืองที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของสถานะเงินภายนอกและเงินสาธารณะในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจและการเงิน ขณะที่อุปสรรคทางการเมืองก็ได้ถูกส่งผ่านทางรัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามปัญหาทางการเมืองยังคงเป็นบริบทสำคัญของเสถียรภาพของรัฐบาลชุดนี้
  • สถานะภาพที่แข็งแกร่งของประเทศไทยที่มีจุดแข็งอยู่ที่สินเชื่อหลัก ทำให้ตลาดการเงินของไทยอยู่สถานภาพที่ปลอดภัย ซึ่งเงินบาทเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่แข็งแกร่งที่สุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในปีนี้ โดยเงินบาทไทยแข็งค่ามากถึง 4.5% ซึ่งเป็นผลมาจากการไหลเวียนของเงินทุนและหนี้สินที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
  • ฟิทช์ คาดการณ์ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยจะยังคงอยู่ในระดับสูง และมีการคาดการณ์ไว้ว่า GDP ของประเทศไทยในปี 2019 จะอยู่ที่ 5.6 % และจะลดลงมาอยู่ที่ 4.9% ในปี 2020 โดยแรงหนุนมาจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และสินค้าเกินดุล แม้การส่งออกสินค้าจะเกิดการชะลอตัวก็ตาม ซึ่งฟิทช์ ยังคาดการณ์อีกว่าประเทศไทยจะมีเงินทุนสำรองเพิ่มขึ้น เป็น 2.16 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม 2.05 แสนดอลลาร์ใจช่วงสิ้นปี 2018 และ ตราสารหนี้ภายนอกของประเทศไทยอยู่ที่ 43% ของ GDP ในปี 2019 โดยฟิทช์ได้จัดอันดับสถานะลูกหนี้ของไทยอยู่ในระดับBBB ที่ 7.0% ของ GDP และ เจ้าหนี้สุทธิอยู่ที่ 9.7 ของ GDP
  • ยังได้คาดการณ์อีกว่าหนี้ภาครัฐทั่วไปจะเพิ่มขึ้น 40.7% ภายในปีงบประมาณ- เดือน ก.ย.2566 จากเดิมที่ 36.3% ในปี 2018 ซึ่งเป็นมาจากการที่รัฐบาลได้กระตุ้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานซึ่งการจัดหาเงินทุนส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืมโดยตรงจากรัฐบาลซึ่งอยู่นอกงบประมาน ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างโปรงใส่และอยู่ภายใต้กฎ FRA
  • รวมถึง คาดการณ์ความขาดดุลของรัฐบาล (ตามสถิติทางการเงินของรัฐบาล)ที่ 0.2 ของ GDP ในปีนี้จากเดิมที่เกินดุลอยู่ที่ 0.1% ในปี 2018 และคาดว่าจะมีการขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 0.4% ของ GDP เนื่องจากรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะเพิ่มการโอนไปประชาชนที่มีรายได้น้อย และการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มากขึ้น
  • หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารในปี 2558 และทำให้ได้รัฐบาลชุดใหม่โดยฟิทช์ คาดว่ารัฐบาลชุดนี้ยังคงดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี และให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) ที่เน้นไปที่การลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจทั้งในระยะสันและระยะกลาง อย่างไรก็ตามรัฐบาลใหม่ของนายกรัฐมนตรีประยุทธ จันทร์โอชา ยังต้องพบกับความไม่แน่นอน และถูกจำกัดด้วยเสียงส่วนใหญ่ อีกทั้งการเจรจาอาจนำไปสูความล่าช้าในการ
  • เศรษฐกิจไทยจะลดลงเหลือ 3.3% ในปี 2562 จากตัวเลขเดิมที่ 4.1% ในปีที่แล้ว เนื่องจากมูลค่าการส่งออกที่ลดลง 2.7%จากช่วงแต่คาดว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.5% ในปี 2563 ซึ่งเป็นผลจากตัวเลขการลงทุนที่ภาครัฐเพิ่มสูงขึ้นและช่วยให้การลงทุนภาคเอกชนพุ่งขึ้น อีกทั้งสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ และ จีน อาจสร้างผลกำไรจากการค้าและการลงทุนจากฝั่งจีนได้ ยังเชื่อว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย จะยังคงอัตราดอกเบี้ยขั้นต้ำไว้ที่ 1.75% ในปีนี้ โดยคำนึงถึงความมั่นคงทางการเงิน ท่ามกลางสภาวะเงินเฟ้อต่ำและการเติบโตของเศรษฐกิจที่