HomeUncategorizedค่าเงินบาทหลุดกรอบ 30 บาท/เหรียญสหรัฐ?

ค่าเงินบาทหลุดกรอบ 30 บาท/เหรียญสหรัฐ?

  • ผลกระทบจากการสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ เริ่มส่งให้เศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัว และย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การส่งออกไทยซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย
  • แต่ที่น่าเป็นห่วงคือค่าเงินบาทไทยยังแข็งค่าต่อเนื่องมาตลอด เพราะค่าเงินสหรัฐที่อ่อนค่าและเงินได้ไหลทะลักเข้าตลาดประเทศเกิดใหม่จำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือไทยที่ทำให้ค่าเงินบาทไทยสูงสุดในรอบ 6 ปี โดยวันที่ 1 ก.ค. อยู่ที่ระดับ 30.52 บาท/เหรียญสหรัฐ แต่ยังไม่เคยแข็งค่าที่สุดที่ 28.55 บาท/เหรียญสหรัฐ เพราะไทยเป็นแหล่งพักเงินได้เป็นอย่างดีจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่แข็งแกร่ง และมีดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุล
  • จนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องลดปริมาณการออกพันธบัตรระยะสั้น ซึ่งไม่ได้มีการประกาศชัดเจนว่าเป็นมาตรการการดูแลค่าเงินบาท และเมื่อ ปี 2560 ธปท.เคยใช้มาแล้ว เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยชะลอกระแสเงินทุนไหลเข้า และลดแรงจูงใจไม่ให้นักลงทุนต่างชาติใช้พันธบัตรระยะสั้นเป็นที่พักเงินในกรณีที่ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวน นโยบายดังกล่าวเริ่มปรับลดการออกพันธบัตรระยะสั้น ประเภท 3 และ 6 เดือน ลดลง 5,000 ล้านบาทต่อสัปดาห์ และอายุ 1 ปี ที่ 10,000 ล้านบาทต่อสัปดาห์
  • หลายแห่งประเมินค่าเงินบาทสิ้นปีนี้หรือปีหน้าหลุดกรอบ 30 บาท/เหรียญสหรัฐ โดยลอมบาร์ดแบงก์มองเงินบาทจะหลุดสิ้นปีนี้ที่ 28.50 บาท และยังคาดว่าเฟดลดดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งภายในปีนี้ ครั้งละ 0.25 % ขณะที่ธนาคารกรุงศรีและธนาคารกรุงไทยค่าเงินบาทต้นปีหน้ามีโอกาสหลุดกรอบ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
  • หุ้นไทยเดือน มิ.ย.เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทเดือนเดียว 6.8% ถือเป็นอันดับหนึ่งของเอเชีย แต่ถ้าเป็นสกุลเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 9.9 % ค่าบาทแข็งค่าขึ้น 3.1 %
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองกรอบค่าเงินบาทระหว่างวันที่ 8-12 ก.ค. นี้ อยู่ที่ 30.50-30.80 บาท ประเด็นที่น่าสนใจคือการจัดตั้งรัฐบาล ส่วนปัจจัยต่างประเทศสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ จากสุนทรพจน์ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)ต่อสภาคองเกรส และเจ้าหน้าที่ระหว่างสูงระหว่างสัปดาห์และข้อมูลเศรษฐกิจเดือน มิ.ย.ของจีน และการเจรจาการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฃ
  • ASP-ทรีนีตี้ มองสินปี้ยังไม่ทะลุ 30 บาท “เทิดศักดิ์  ทวีธีระรรม” ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส และ “ณัฐชาต เมฆมาสิน” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ มองในทิศทางเดียวกันว่า ค่าเงินบาทปีนี้ยังไม่หลุด 30 บาท และมองว่ามาตรการการลดปริมาณพันธบัตรระยะสั้นของ ธปท. เริ่มเห็นผลเพราะหลัง ธปท.ประกาศใช้มาตรการนี้ค่าเงินบาทมีการอ่อนค่าลงมา และเชื่อว่า ธปท. น่าจะมีการมาตรการอื่นดูแลเงินบาทด้วย หลังจากส่งสัญญาณครั้งล่าสุดว่ามีความกังวลเรื่องค่าเงินบาท และส่วนต่างผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้น  2 ปี ไทยกับสหรัฐเริ่มแคบลง ซึ่งส่วนใหญ่เงินที่ต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินจะเข้ามาในตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี ส่วนตลาดหุ้นก็ปรับขึ้นมาที่ระดับอัตรากำไรสุทธิต่อกำไรต่อหุ้น ((พี/อี) ปรับขึ้นมาในระดับ 16 เท่า
  • ล่าสุด ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐเดือน มิ.ย. ที่เพิ่งประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 5 ก.ค. ที่ผ่านมาปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือน  สะท้อนว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังดีอยู่  ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรกลับมาพุ่งขึ้นอีกครั้ง และอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เฟดอาจจะยังไม่ลดดอกเบี้ยในเดือน ก.ค. นี้ได้ และมีโอกาสที่ทำให้เม็ดเงินต่างชาติชะลอเข้ามาในประเทศไทยและตลาดเกิดใหม่ เพราะเม็ดเงินมีโอกาสกลับไปที่สหรัฐ