HomeUncategorizedเล่นหุ้น ต้องเก่งคณิตศาสตร์หรอ?

เล่นหุ้น ต้องเก่งคณิตศาสตร์หรอ?

 ถ้าพูดถึงหุ้นดูเหมือนจะมีแต่ตัวเลข คนเล่นหุ้นต้องเก่งเลข คำนวณเก่งแน่ๆ
….หลายคนคิดแบบนั้น แต่หารู้ไม่ จริงๆแล้วคณิตศาสตร์ในหุ้น มีเนื้อหาไม่เกิน ป.4
คณิตศาสตร์ที่นักลงทุนใช้ ส่วนใหญ่จะเป็น “บวก ลบ คูณ หารระคน” หรือ “การหาค่าเฉลี่ย”
แหม๊ ก็จริงอยู่ที่ตัวเลขเยอะเกิน แต่ก็อย่าลืมว่าตัวเลขส่วนใหญ่ถูกคำนวณมาให้เสร็จสรรพแล้ว
ถ้าคุณสังเกตุดีๆ สิ่งที่ยาก! หิน! หฤโหดสุดๆ คงไม่ใช่ตัวเลขหลักล้าน แต่เป็น การคิดวิเคราะห์และ  “มองหาโอกาส จากตัวเลขเหล่านั้นมากกว่า
(ตาลายๆๆๆ) ผมขออนุญาตยกตัวอย่างค่ามาตรฐานหลายๆค่าทีนักลงทุนควรรู้!! ค่าไหนที่ควรมาก ค่าไหนควรน้อย หรือค่าไหนควรต่ำ 1
…มาไล่ดูกัน!!

รู้ไว้ก่อน ควรต่ำ 1

  • Debt to Equity : D/E

คือ หนี้สิน (Debt) ต่อ ทุน (Equity) พูดง่ายๆ เอาหนี้สินมาเทียบกับทุน ถ้าหนี้มากค่า D/E ก็สูง ซึ่งหากสูงเกินไปจะมีความเสี่ยงหลายๆอย่างเกิดขึ้นอีก เช่น ความเสี่ยงต่อการบริหารสภาพคล่อง (หนี้เยอะปัญหาแยะน่ะนะ) ฉะนั้น D/E ที่เหมาะสม จึงควรต่ำกว่า 1 (ถ้าหนี้น้อยกว่าทุน หารยังไงก็ต่ำกว่า 1)

  •  Price to Book Value : P/BV
คือ ราคาหุ้น (Price) ต่อ มูลค่าทางบัญชี (Book Value) อันนี้เราไม่ต้องคำนวณมูลค่าทางบัญชีเองนะ ใจเย็นๆๆๆ ทุกบริษัทจดทะเบียนมี “P/BV” ของตัวเองที่ถูกคำนวณตามงบการเงินล่าสุดของบริษัท (ทุกๆ 3 เดือน) ซึ่งหากเราซื้อหุ้นที่ P/BV ต่ำกว่า 1  หรือ ราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี พูดง่ายๆ ซื้อที่ราคาเหมาะสมที่สุด ราคานี้ไม่ได้ถูกใส่อารมณ์ตลาดเข้าไปด้วย ซึ่งโดยปกติที่นักลงทุนเชื่อมั่นกันก็คือ P/BV ยิ่งต่ำกว่า 1 จะยิ่งดี

รู้ไว้ก่อน “ยิ่งต่ำ ยิ่งดี”

  • Price/Earning per Share : P/E

คือ ราคาหุ้น (Price) ต่อ กำไรต่อหุ้น (Earnings per share) ส่วนใหญ่จะยึดค่านี้เป็นการประมาณว่าถ้าซื้อหุ้นที่ราคานี้ แล้วถือกี่ปีถึงจะคืนทุน” (ถึงจุดสมดุลของกำไรมั้ง 55555) คิดง่ายๆตามนี้นะ สมมุติๆ ถ้า P/E 3 เท่า คือ ราคาแพงกว่ากำไร 3 เท่า…..ถ้ากำไร 3 ครั้ง ก็ได้ราคาหุ้น 1 รอบ นั่นก็คืนทุนแล้วยิ่งถ้าถือจนกำไรมาอีก ก็ยิ้มสิครัช ^^ ดังนั้น P/E ยิ่งต่ำจะยิ่งดีนะ


รู้ไว้ก่อน “ยิ่งสูง ยิ่งดี”

  • Gross Profit Margin : GPM
อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) คิดจาก กำไรขั้นต้น หารด้วย รายได้จากการขาย …พูดสั้นๆนะ “กำไรขั้นต้น” ก็คือรายได้ที่หักต้นทุนขายออก ..เสร็จแล้วก็จับมาเทียบเป็นเปอร์เซ็นกับรายได้อีกที นั่นก็คือ ถ้ากำไรมีสัดส่วนมากก็จะถือว่าเจ๋ง ยิ่งมากกว่าคู่แข่งด้วยแล้ว ดีเลิศ! (หน่วยเป็น % นะ)
  • Net Profit Margin : NPM
    อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) คิดจาก กำไรสุทธิ หารด้วย รายได้ …..เดี๋ยวๆๆๆ แล้วกำไรตรงนี้ “ไม่เท่ากับ” กำไรขั้นต้น (ข้างบนนะ)….กำไรสุทธิ = กำไรขั้นต้น – (ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร + ดอกเบี้ยภาษี) ก่อน ซึ่ง NPM ยิ่งสูงจะยิ่งดี แสดงว่ากำไรหลังหักค่าใช้จ่ายและภาษีออกไปแล้วเอามาเทียบกับรายได้ แล้วยังโออยู่ (หน่วยเป็น % นะ)
  • Return to Assets : ROA

กำไรสุทธิ (Net Profit) เทียบกับ สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท (Assets) เหมือนพูดถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัทว่าบริษัทสามารถเอาสินทรัพย์ ไปสร้าง “กำไร” ได้ดีแค่ไหน

  • Return to Equity : ROE

กำไรสุทธิ (Net Profit)  เทียบกับ ส่วนผู้ถือหุ้น (Equity) ซึ่งนักลงทุนระดับตำนานอย่างคุณปู่บัฟเฟตต์ให้ความสำคัญกับ ROE เป็นอย่างมาก โดยปกติค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12-15% และต้องมีความต่อเนื่องหลายๆปี

  • Earning per Share : EPS

กำไรสุทธิ เทียบกับ จำนวนหุ้นของบริษัทที่ชำระแล้ว ง่ายๆก็เหมือนเอากำไรมาแบ่งให้หุ้นแต่ละหุ้นแล้วเป็นอย่างไร EPS ยิ่งมากก็จะยิ่งดี

  • Current Ratio
    อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) คิดจาก สินทรัพย์หมุนเวียน (CA) ÷ หนี้สินหมุนเวียน (CL)
    ซึ่งสินทรัพย์หมุนเวียนที่ว่าก็คือ เงินสด, ลูกหนี้ หรือ สินค้าคงเหลือวัด ถ้าสินทรัพย์อันนี้มากกว่าหนี้สินหมุนเวียน ก็หมายความว่าบริษัทมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นได้ดี และค่าที่ถือว่าใช้ได้ ก็คือ 2
ทั้งหมดก็ประมาณนี้ครับ ยังไงผมก็ยังคิดว่าคณิตศาสตร์ในหุ้นไม่ต้องใช้ความรู้คณิตศาสตร์อย่างแคลคูลัส ดิฟสมการอะไรเลย เพียงแค่บวกลบคูณหาร อ่านค่า แล้ววิเคราะห์ต่อเท่านั้นเอง
เป็นนักลงทุนต้องรอบคอบ ใช้ความเข้าใจ แล้วไปต่อ!! โชคดีในการลงทุนทุกท่านฮะ